วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

Blog 7 Privacy Policy of KS Nation Consultant Co.,Ltd.

 

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
Privacy Policy of KS Nation Consultant Co.,Ltd.
จัดทำเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565

            บริษัทฯตระหนักถึงความสำคัญอย่างยิ่งต่อการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้จัดทำนโยบาย                  การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

โดยนโยบายนี้ได้กำหนดถึงขอบเขต ความหมายต่างๆเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนวิธีการในการดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การใช้ การเปิดเผย และการรักษาข้อมูล สิทธิต่างๆของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subjects) รวมถึงการดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเป็นการปกป้องและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ติดต่อขอรับการอบรมภายในและกิกรรมต่างๆให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

            ตามอำนาจของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  บริษัทฯขอออกประกาศว่า

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อ 2 บทนิยาม  “ข้อมูลส่วนบุคคลหมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลต่างๆที่สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล Data Subject: DS ” หมายถึง บุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม การใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

 

                        “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล Data Controller: DC” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

                        “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล Data Processor: DP” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคล                  ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่บุคคลหรือนิติบุคคลนั้น ซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

                          “ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวหมายถึง ข้อมูลเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิหรือปรัชญา ประวัติอาชญากรรม พฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน เป็นต้น

                        ข้อ 3  บริษัทจะใช้และเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพียงเท่าที่จำเป็น เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมย์  ไลน์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆเพื่อจัดเก็บ หรือเชื่อมต่อกับกับฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนและ    การใช้สำหรับการติดต่อ ให้บริการ ประชาสัมพันธ์ หรือแจ้งข้อมูลข่าวสารกับผู้เกี่ยวข้องเจ้าของข้อมูลเท่านั้น

                       ข้อ 4 บริษัทจะใช้และเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลตามระยะเวลาเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งเจ้าของข้อมูลหรือตามที่กฎหมายกำหนดไว้

          ข้อ 5 ขอรับรองว่าจะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวมไว้ไปส่งต่อ ขายหรือเผยแพร่ให้กับ    บุคคลอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง ยกเว้นว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล

                        ข้อ 6 บริษัทจะเก็บรวบรวม การใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในการตรวจสอบและยืนยันตัวบุคคลจากการติดต่อใช้บริการและกิจกรรมต่างๆที่ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย และปฏิบัติให้สอดคล้องตามกฎหมาย ข้อตกลง และสัญญาที่เกี่ยวข้องต่อกันทุกประการ

                        ข้อ 7 บริษัทจะเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ และเปิดเผยข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลด้วยความระมัดระวัง ทั้งทางตรงและทางอ้อมของทุกขั้นตอนการบริการต่างๆ เช่น ขั้นตอนการยื่นคำขอ การอนุมัติ การขออนุญาต การลงทะเบียน การขึ้นทะเบียน การลงนามในสัญญา เอกสารต่างๆ หรือเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลติดต่อสื่อสาร หรือร้องเรียนใดๆสามารถติดต่อผ่านทุกช่องทางติดต่อกับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล

                     

   ข้อ 8 บริษัทมีกำหนดบุคคลมาทำหน้าที่เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล (Data Protection Officer: DPO) และ            ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อจะเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้ามาติดต่อรับบริการตามสัญญาหรือกิจกรรมอันตกลงร่วมกัน รวมถึงถ้ามีการจัดทำและการใช้งานเว็บไซต์ของบริษัทในอนาคต หรือบริการด้วยการใช้คุกกี้(Cookies) หรือจากซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น

                        ข้อ 9 บริษัทจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ใช้บริการและกิจกรรมเพียงเท่าที่จำเป็นในทุกรูปแบบเมื่อได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น ยกเว้นกรณีต่อไปนี้

                                1 กรณีที่กฎหมายกำหนด หรือตามที่มีข้อตกลงร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร

                                2 เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้บริการอบรม เกี่ยวกับการศึกษา วิจัย หรือความปลอดภัย

                                3 เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับชีวิต สุขภาพ หรือความปลอดภัยของผู้ใช้บริการอบรม

                                4 เพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนหรือการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม

                        ข้อ 10 บริษัทจะไม่มีการจัดเก็บ การใช้ การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวของผู้ใช้บริการอบรมอย่างเด็ดขาด เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนด

                        ข้อ 11 บริษัทจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลอย่างเด็ดขาดโดยปราศจากความยินยอม และจะเปิดเผยตามวัตถุประสงค์ที่ได้มีการแจ้งไว้เท่านั้น

                        ข้อ 12 บริษัทได้กำหนดให้มีมาตรการเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอย่าง รวมถึงการป้องกันการเข้าถึง การสูญหาย การทำลาย การใช้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีสิทธิหรือการกระทำอันไม่ชอบกับกฎหมาย ตามนโยบายส่วนตัวด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศให้สอดคล้องพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  

                        ข้อ 13 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิได้ทุกเวลากับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล (Data Protection Officer: OPD)

                         ข้อ 14 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สามารถขอถอนความยินยอมได้ทุกเวลา กรณีมีผลกระทบใดๆต่อท่านหรือกับระบบงานจะดำเนินการแจ้งกลับให้ท่านทราบทันที

                        ข้อ 15 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการดำเนินการ ดังนี้

                                  1  สิทธิการได้รับแจ้งรายละเอียดในการเก็บรวบรวม การใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

                                  2  สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้ทุกเวลา

                                  3  สิทธิการขอให้โอน และส่งคืนข้อมูลส่วนบุคคล

                                  4  สิทธิการคัดค้านการเก็บรวบรวม การใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

                                  5 สิทธิการขอให้ลบทำลาย ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ที่จะไม่สามารถระบุตัวบุคคล

                                  6  สิทธิการขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งชั่วคราวหรือตลอดกาล

                                  7  สิทธิการขอให้ปรับปรุง หรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลได้ทุกเวลาตามประสงค์

                                  8  สิทธิการร้องเรียนกรณีที่มีข้อสงสัย หรือพบว่าผู้ควบคุมหรือผู้ประเมินผลไม่ปฏิบัติตาม  พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

ข้อ 16 บริษัทจะดำเนินการตามที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแจ้งมาและประสงค์ใดๆให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และกรณีร้องเรียนภายใน 3 วัน ให้ตรงกับความต้องการและสอดคล้องพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  

KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.

การอบรมภายในตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล 

กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com

บริษัทแต่งตั้ง DPO คือ  สุนทร มือถือ 081 6493828  Line ID: iatf16949

วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2563

Blog 6 รายการตรวจ หรือ Checklists

บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ เซฟตี้ โทรหา" 
081 3029339 ติดต่อ QMR & เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง ISO&IATF 
ISO14971:2019 RM for Medical Devices
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
ช่วงโปรโมชั่น In-House Training หลักสูตรมาตรฐานอื่นๆ 50% จากราคาปกติ 
ผู้เข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน
Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
Mobile: 0813029339, 0886560247   Line ID: iatf16949

บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ                      ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.   

ISO9001
Checklist เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจติดตามคุณภาพภายในโรงงาน (ผู้ตรวจประเมินหรือ Auditor ก็มีจัดทำ Check List เช่นกัน) โดยศึกษาจากข้อกำหนดของมาตรฐาว่ามีใจความอย่างไร จากนั้นนำมาระบุเป็นหัวข้อเพื่อใช้ตรวจสอบว่า องค์กรหรือโรงงานทำครบถ้วนหรือไม่ สามารถเพิ่มเติมสิ่งที่ต้องตรวจสอบระบบโดยได้ข้อมูลมาจากระเบียบปฎิบัติ(Procedure) ชุดที่เราจะไปตรวจสอบ ก็คือของฝ่ายที่จะถูกตรวจสอบ

จุดประสงค์ของการทำ Checklist คือ
1  เพื่อใช้เป็นแนวทางของการตรวจประเมิน และสุ่มหาสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
2  เพื่อช่วยจำและรวบรวมหลักฐานข้อบกพร่องที่พบในระหว่างการตรวจประเมิน

เริ่มจาก Checklist ที่จะไปพบท่านกรรมการผู้จัดการ(MD) และใครละจะกล้าตรวจท่านMD? ขอแนะนำ หากโรงงานท่านมีที่ปรึกษา ก็ให้ที่ปรึกษานั่นแหละ และเป็นการรายงานหรือติว เพื่อสรุปผลให้ท่านรับทราบนั่นเอง
Management Checklist:(กรรมการผู้จัดการหรือผู้บริหารที่กำกับองค์กรนั้น เช่น DM, GM, Director, Plant Manager หรือผู้รับมอบอำนาจให้บริหารองค์กร)
1 การกำหนดนโยบายคุณภาพให้กับพนักงาน ท่านมีหลักการอย่างไร
2 นโยบายที่กำหนดนั้น บรรลุตามเป้าหมายหรือไม่ หากไม่ได้ตามเป้าหมายท่านมีแผนงานอย่างไร
3 เป้าหมายด้านนโยบายคุณภาพ ท่านกำหนดอย่างไร มีสิ่งใดที่ท่านคิดหรือประสงค์ในเป้าหมายนั้น
4 วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ (Quality Objective) ท่านมีข้อคิดเห็นอย่างไร มีการทบทวนหรือไม่
5 ท่านมีการตรวจสอบหรือติดตามผลอย่างไร มั่นใจเพียงใดว่าพนักงานทุกคนเข้าใจและมีส่วนร่วมกับนโยบายที่ท่านได้ประกาศออกไป
6 ผลลัพท์ที่ได้ ท่านพึงพอใจเพียงใด ท่านมีกลยุทธ์ใด ที่จะเสริมเข้าไปเพื่อให้ทุกคนสามารถปฎิบัติได้
7 ท่านมีการวัดผลและการประเมินผลอย่างไร ครั้งล่าสุดเมื่อใด
8  หากพบปัญหาใหญ่ในระบบบริหารคุณภาพ ท่านมีแนวทางอย่างไรกับทีมงานหรือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
9 การจัดทำและทบทวนคู่มือคุณภาพ ท่านคิดเห็นว่าอย่างไรรวมทั้งมีการสื่อสารออกไปหรือไม่ อย่างไร
10 ขอดูคู่มือคุณภาพของท่าน (ตรงนี้คือการตรวจสอบว่า มีอยู่กับตัวท่านหรือไม่ และ Up-Date หรือไม่ ตรงนี้เคยตกม้าตาย คือหากท่านไม่รู้เล่มไหน หรือเล่มนั้นไม่ Up-Date จะเสียคะแนนความมั่นใจให้กับผู้ตรวจสอบไปมากโข)
11 ข้อบกพร่องจากการตรวจติดตามคุณภาพภายใน(IQA)ที่เป็นปัญหามากที่สุดคืออะไร
12 ท่านเข้าร่วมประชุมงานทบทวนบริหารคุณภาพ ท่านคิดว่าระบบเดินก้าวหน้า หรือมีสิ่งที่ท่านกังวลใจหรือไม่
13 ขอดูสรุปผลค่า KPI ซึ่งท่านคิดว่าเกี่ยวพันกับISO 9001 นั้น มากน้อยเพียงใด การกำหนดค่าท้าทายหรือสามารถปฎิบัติได้จริง รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนบ่อยครั้งหรือไม่
14 ท่านมีข้อเสนอแนะใดบ้าง
15 ผู้ตรวจสอบจากภายนอกกล่าวขอบคุณและขออนุญาตท่าน MD ไปตรวจประเมินฝ่ายต่างๆ
หากเป็นคนใน หรือ QMR จำใจต้องรับหน้าที่นี้ อย่าลืมขอบคุณท่านMD รายงานทุกปัญหาให้ท่านรับทราบและขอความช่วยเหลือ เพราะการที่ MD เอาจริง ฝ่ายต่างๆก็จะต้องทำจริง อะไรๆก็จะราบรื่น
บางครั้ง QMR ก็รู้ว่าบางฝ่ายมีปัญหามาก อาจถือโอกาสนี้ เรียนเชิญท่านไปดูการตรวจสอบภายในที่ฝ่ายนั้น โดยแจ้งไปว่า ท่านต้องการเยี่ยมชมและให้กำลังใจพนักงาน ซึ่งก็จริง แต่เป้าหมายหลักคือต้องการขอยืมดาบท่าน ทำให้ฝ่ายที่มักมีปัญหา เคารพกติกาบ้างเท่านั้นเอง และการสร้างความสัมพันธ์ก็สำคัญ แต่ไม่ต้องถึงกับนัดกันไปต่อทุกคืนเพื่อกินเบียร์ต่อยอดความสามัคคี

ตรวจสอบฝ่ายผลิต รวมงานซ่อมบำรุงและการวางแผนการผลิต ดังนี้
Production Checklist:
ตรวจสอบระดับฝ่าย ควรขอดูและตรวจสอบ
# ขอดูคู่มือคุณภาพหรือ QM ว่า Deploy มาให้และเป็นฉบับ Up-Date หรือไม่
# นโยบายที่ระบุในคู่มือคุณภาพหรือ QM ผู้จัดการฝ่ายนั้นเข้าใจและนำไปปฎิบัติหรือไม่ อย่างไร
# นโยบายที่กำหนดให้ฝ่ายนำไปดำเนินการสอดคล้องและตรงจริงกับที่ฝ่ายนั้นทำงานหรือไม่ อย่างไร
# บางครั้งอาจทดลองทดสอบผู้จัดการ ในเนื้อหาใจความของนโยบายคุณภาพนั้น ผู้จัดการฝ่ายเข้าใจมากน้อยเพียงใด แต่ส่วนใหญ่จะไปตรวจสอบที่พนักงานเป็นหลัก
# ขอดูแผนผังองค์กรฝ่ายว่าสอดคล้องกับแผนผังองค์กรรวมของทั้งองค์กรหรือไม่ Up-Date หรือไม่
# ตรวจสอบการสื่อสารต่างๆไปยังพนักงานทั่วถึงหรือไม่ พนักงานมีส่วนร่วมในระบบบริหารคุณภาพมากน้อยเพียงใด พนักงานมีความเข้าใจในเนื้อหาใจความของนโยบายมากน้อยเพียงใด รู้หรือไม่ใครคือลูกค้าฝ่ายตน หรือคนที่รับงานต่อจากกระบวนการของตนคือใคร
# ขอดูประวัติการฝึกอบรมทั้งของผู้จัดการ หัวหน้างานและอาจสุ่มของพนักงานว่าได้รับการอบรมตามแผนและผู้ที่จำเป็นต้องรับการอบรมตาม Training Need ได้รับอบรมไปจริง ในเวลาที่เหมาะสม ไม่ล่าช้าหรือค้างนานจนทำความเสียหายในหน้าที่ด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจ
# ขอดูค่า KPI ขอแต่ละฝ่าย สามารถทำได้ตามเป้าหมายหรือไม่ กรณีทำไม่ได้มีแผนปฎิบัติการอย่างไร ไม่ใช่ปล่อยทิ้ง ไม่ได้เป้าหมายก็ไม่ได้ทำอะไร โดยเฉพาะเป้าหมายด้านคุณภาพ มีและเหมาะสมเพียงใด
# การตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายขึ้นมานั้นใช้อะไรเป็นตัวพิจารณา เป็นเป้าหมายรวมทั้งองค์กรหรือแยกเป็นฝ่ายนั้นๆตั้งเป้าหมายใช่หรือไม่ใช่กับลักษณะงานที่ฝ่ายนั้นรับผิดชอบ
# มีการทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ ความถี่ในการทบทวน หรือทำการทบทวนเมื่อไรบ้าง
# อาจสุ่มสอบถามปัญหาหลักที่ถูกตรวจติดตามคุณภาพภายใน รวมทั้งการเข้าร่วมประชุมงานทบทวนบริหารคุณภาพว่ามีส่วนร่วม เข้าใจและติดตามปัญหาอย่างไร เนื้อหาหลักๆทั้งหมดในสองหัวข้อนี้จะไปตรวจสอบเข้มที่ QMR อีกครั้ง
# ตรวจสอบสภาพแวดล้อม(Work Environment)ที่ส่งผลกระทบด้านคุณภาพมีหรือไม่ หากองค์กรมีทำระบบบริหารสิ่งแวดล้อมก็ค่อยไปเน้นตอนตรวจสอบติดตามภายในของมาตรฐาน ISO14001 อีกครั้ง
# ขอดูแผนคุณภาพหรือ Quality Plans และใช้ตรวจสอบทุกจุดทำงานว่าตรงกับแผนคุณภาพหรือไม่ แผนนี้ทำมาครบถ้วนหรือไม่

ตรวจสอบการวางแผนการผลิต(Planning)
# ให้ตรวจการวางแผนทั้งรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือไตรมาศ(ถ้ามี) ว่าทำได้ตามแผนงานจริงหรือไม่ หากไม่ได้ตามแผนแก้ไขอย่างไร ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องหรือไม่
# การวางแผนมีวิธีการอย่างไร มีการฟอร์แคสอย่างไรและร่วมกับฝ่ายขายอย่างไร ตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อมาจากฝ่ายขาย เป็นออเดอร์ทั่วไป หรือแบบ Make to Order (ทำเฉพาะ)
#  สามารถทำส่งทันความต้องการลูกค้าหรือไม่
# ใครเป็นผู้อนุมัติปรับและแก้ไขแผนงานที่วางแผน หลังออกแผนแล้ว หน่วยงานที่ผลิตรับแผนไปผลิตอย่างไร ประสานงานกันด้วยวิธีการใด เกิดความผิดพลาดบ่อยครั้งหรือไม่
# หากฝ่ายหรือหน่วยงานที่ผลิตทำสินค้าไม่ได้ตามแผน การแจ้งข้อมูล ปรับแผนและการแจ้งฝ่ายขายเพื่อแจ้งลูกค้ากระทำกันอย่างไร มีการประสานงานและแจ้งข้อมูลหรือไม่
# มีการวางแผนระยะยาวหรือไม่ หากมีให้ขอดูและตรวจสอบว่าทำอย่างไร มีเกณฑ์อะไร เกิดประโยชน์หรือไม่
# หน่วยงานผลิต รับแผนมาแล้วดำเนินการอย่างไร เพื่อผลิตให้ได้ตามแผนหรือที่ลูกค้าต้องการ
# การรับออเดอร์และนำมาวางแผนผลิตได้คำนึงและตรวจสอบทั้งจำนวนคนงานที่มี เวลาที่ใช้ผลิต จำนวนเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ จำนวนวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวก(Facilities) เพียงพอหรือไม่ สภาพอย่างไร หากไม่พอจะแก้ไขอย่างไร
# ตรวจสอบการสื่อสารต่างๆไปยังพนักงานวางแผน ด้วยหรือไม่ พนักงานมีส่วนร่วมในระบบบริหารคุณภาพมากน้อยเพียงใด พนักงานมีความเข้าใจในเนื้อหาใจความของนโยบายมากน้อยเพียงใด รู้หรือไม่ใครคือลูกค้าฝ่ายตน หรือคนที่รับงานต่อจากกระบวนการของตนคือใคร
# ขอดูประวัติการฝึกอบรมของหัวหน้างานและอาจสุ่มของพนักงานว่าได้รับการอบรมตามแผนและผู้ที่จำเป็นต้องรับการอบรมตาม Training Need ของแต่ละตำแหน่งงาน ได้รับอบรมจริงหรือไม่ และอบรมในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ คือต้องไม่ล่าช้าหรือค้างนานจนทำให้เกิดความเสียหายในหน้าที่เพราะความไม่รู้ และความไม่เข้าใจ

ตรวจสอบสายการผลิตหรือบางประเภทเป็นการประกอบ (Assembly Line) ตั้งแต่ต้นทางยันปลายทางว่า
# พนักงานทำงานได้หรือไม่ มีการ OJT ให้หรือยัง
# พนักงานเข้าใหม่ ต้องรับการฝึกอบรมหัวข้อใดบ้าง
# มีการบ่งบอกการควบคุมกระบวนการทำงานอย่างไร หรือใช้ Visual Control ในการทำงานหรือไม่
# ตรวจสอบพนักงานเข้าใหม่ ว่าทำงานอย่างไร หากเพิ่งเข้ามาทำงานวันนี้ หรือเพิ่งเข้ามาเมื่อวานนี้ให้ตรวจเข้มและมีหัวหน้างานคอยติดตามปัญหาหรือไม่ พนักงานเกิดอุปสรรคงานจะแจ้งใคร แจ้งอย่างไร
# สุ่มและจดชื่อพนักงานหลายๆคน ทั้งเรื่องความเข้าใจในนโยบาย ในการทำงานของตน หน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อนำไปตรวจสอบกับฝ่ายบุคคลหรือ HR ว่าพนักงานอบรมอะไรบ้าง มีการลงประวัติครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่
# สอบถามพนักงานทำงาน และใช้คู่มือทำงานหรือ Work Instruction (WI) อะไร เน้นทำงานได้จริงและถูกขั้นตอนหรือไม่
# พนักงานประจำเครื่อง สามารถใช้เครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรอย่างถูกวิธีหรือไม่
# ตรวจสอบว่ามี WI ที่จำเป็นหรือเป็นงานที่มีขั้นตอนยากหรือมีมากขั้นตอนอยู่ ณ จุดหน้างานหรือไม่
# ตรวจสอบว่า ทั้งระเบียบปฎิบัติ(Procedure) และ WI ที่ใช้งาน ณ จุดหน้างาน ควบคุมอย่างไร Up-Date หรือไม่ ให้จดชื่อเรื่อง หมายเลขและ Revision ของเอกสารหลายๆชุดเพื่อนำไปตรวจสอบที่หน่วยงานควบคุมเอกสารหรือ Document Control ว่าตรงกับ Master List ว่าไม่ใช่เอกสารเถื่อนที่แอบทำขึ้นมา หรือแขวนไว้งั้นๆให้เป็นบ้านของไอ้แมงมุม
# ให้ตรวจสอบคู่มือการทำงานและเอกสาร ข้อมูลล้าสมัยแล้ว Obsolete) ยู่ปะปนในการทำงานหรือไม่
# ให้จดชื่อเครื่องมือวัด หมายเลขและ Serial Number และยี่ห้อ จากหลายๆจุดทำงานเพื่อนำไปตรวจสอบที่หน่วยงานสอบเทียบหรือ Calibration Center ว่าตรงกับ Calibration List หรือไม่ (คือไม่ใช่เครื่องวัดหรือเครื่องมือเถื่อนที่แอบนำมาใช้งาน หัวข้อการสอบเทียบจะมาตรวจเข้มที่หน่วยงานสอบเทียบอีกครั้ง ทั้งประวัติเครื่องวัด การสอบเทียบแบบภายใน ต้องมีตัวมาสเตอร์และวิธีการสอบเทียบ หากเป็นการสอบเทียบแบบภายนอก มีใบรับรองที่น่าเชื่อถือหรือไม่)
# ให้จดรุ่นสินค้าที่ผลิตไว้ ชื่อลูกค้าหากเป็น Make to Order และจำนวนที่ผลิตจริง เพื่อสอบกลับ ในช่วงเวลาที่ไปตรวสอบที่หน่วยงานตรวจสอบหรือ QA/QC ว่าตรวจตามแผนการตรวจสอบหรือไม่ การสุ่มตรงกับที่กำหนดหรือไม่ และเพื่อติดตามว่าสินค้าได้รับการตรวจสอบจริงหรือไม่
# หากเป็นงานผลิตที่ใช้แบบหรือ Drawing ก็ให้ตรวจสอบแบบว่ามีการควบคุมเอกสารหรือแบบทุกชุด  ให้สุ่มมากหน่อยว่า Up-Date และแบบนั้นตรงกับข้อกำหนดที่ลูกค้าต้องการหรือไม่
# ให้ตรวจดูหน้างานมีการทำป้ายชี้บ่งการวางชิ้นงาน วัตถุดิบและสินค้าที่ผลิตครบถ้วนหรือไม่ # ให้ตรวจสอบจุดทำงานหรือพื้นที่ต่างๆ ที่ระบุว่าวางของดี ของเสีย หรือรอพิจารณาเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ (ปกติพื้นที่สีแดงจะวางของเสีย พื้นที่สีเขียวจะวางของดีและพื้นที่สีเหลืองจะวางของที่รอพิจารณา)
# จดรายการวัตถุดิบมากๆรายการไว้ ทั้งLot ทั้งจำนวน ชื่อผู้ผลิต(Supplier ถ้ามี) ไว้ใช้ไปตรวจสอบที่คลังหรือสโตร์ (Store) ว่ารับเข้ามาผ่านการตรวจสอบรับเข้า (Incoming Inspection)หรือไม่
# หากโรงงานนั้นกำหนดรับเข้าก่อนจ่ายก่อนหรือ FIFO ก็ให้ตรวจสอบว่าทำจริงตามที่กำหนดหรือไม่
# ให้จดชื่อเครื่องจักร หมายเลขและ Serial Number และยี่ห้อ จากหลายๆจุดผลิตเพื่อนำไปตรวจสอบที่หน่วยงานซ่อมบำรุงหรือ Maintenance Center ว่าตรงกับ Machine List/Maintenance List ว่าไม่ใช่เครื่องจักรที่ตกสำรวจ (หัวข้อการซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน: Preventive Maintenance จะไปตรวจเข้มที่หน่วยงานซ่อมบำรุงอีกครั้ง ทั้งประวัติเครื่องจักร  ประวัติการซ่อม การออกใบแจ้งซ่อมและการซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน)
# ให้ตรวจสอบทุกๆเครื่องจักรมีติดป้ายหรือชี้บ่งชื่อหรือระบุหมายเลขของเครื่องจักรครบถ้วน ถูกต้องเพื่อใช้ตรวจสอบกลับอีกครั้งกับ Machine List/Maintenance List
# ให้ตรวจดูสภาพเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ว่ามีชำรุด เสียหายและขาดการดูแลเอาใจใส่หรือไม่ เช่นพบสภาพแตก หัก เสียงดังมาก น้ำมันเครื่องรั่วไหลเต็มไปหมด สายพานขาดหรือแตกรายงา หรือไม่
# การแสดงผลของการผลิตในแต่ละชั่วโมงหรือแต่ละวันทำอย่างไร
# การสื่อสารภายในฝ่ายผลิตทำอย่างไรบ้าง มีประสิทธิผลหรือไม่ ให้ตรวจสอบทั้งการสื่อสารผ่านเมล์(Mail) แสดงบนกระดาน การปิดประกาศ การประชุมหน้าแถว เพื่อตรวจสอบเรื่องสำคัญได้มีการสื่อสารถึงพนักงานจริงหรือไม่
# ปัญหาการผลิตมีการสื่อสารอย่างไรให้ผู้เกี่ยวข้อง
# ปัญหาการผลิตที่ฝ่ายผลิตพบนั้น ได้ดำเนินแก้ไขอย่างไร หากเกี่ยวข้องกับฝ่ายอื่นๆมีการดำเนินการอย่างไร ให้ดูระเบียบปฎิบัติ(Procedure)ของฝ่ายผลิต ทั้งงานวางแผน และงานซ่อมบำรุง ว่าได้ทำจริงตามที่เขียน และเขียนตรงกับที่ทำงานหรือไม่ (หากไม่ตรงกันเลย ให้ไปแก้ไขเช่น ฝึกอบรมคนให้ทำตามระเบียบ หรือถ้าคนทำไม่ได้ ก็ต้องแก้ไขระเบียบโดยไม่ไปขัดกับข้อกับข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO9001)
# ปัญหาเอกสารไม่ควบคุมตามระบบก็พบมากในฝ่ายผลิต ให้ตรวจสอบว่ามีการขึ้นทะเบียนหรือไม่ มีการแจกจ่ายถูกต้องตามที่ระเบียบกำหนดหรือไม่ เอกสารที่จัดเก็บมีการชี้บ่งชัดเจนหรือไม่ และเก็บเข้าที่ถูกแฟ้ม ถูกจุดงานหรือไม่ หากมีการเปลี่ยนแปลงเอกสารฉบับใหม่ทำให้ถูกต้องหรือไม่ และชุดเก่าเก็บออกจากจุดทำงานหรือไม่
# ให้ตรวจสอบเอกสารที่ระบุเวลาจัดเก็บแล้ว ทำจริงตามนั้นหรือไม่ การดูแลเอกสารดีหรือไม่ ถึงเวลาต้องทำลายเอกสารเก่านั้นดำเนินการหรือยัง
# ให้ตรวจสอบพนักงานทำงานที่สำเนาหรือถ่ายเอกสารใช้งานเอง (โอกาสสร้างปัญหาภายภาคหน้าได้) ให้ตรวจดูว่ามีการแอบถ่ายสำเนาใช้งานหรือไม่
# ให้ตรวจสอบหน่วยงานผลิตทุกจุดทำงานที่พนักงานใช้เครื่องจักรว่าทำงานได้จริง เข้าใจการทำงานของเครื่องจักรนั้น มีคู่มือการทำงานหรือ Machine Manual หรือไม่
# หากพนักงานอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก คู่มือการทำงานมีฉบับภาษาไทยหรือไม่
# ตรวจสอบการตั้งค่าเครื่องจักร พารามิเตอร์ที่ใช้ควบคุมในกระบวนการผลิตว่ามีครบและถูกต้องหรือไม่ ควรนำแผนคุณภาพหรือ Quality Plans มาใช้ตรวจสอบทุกจุดทำงานจะพบสิ่งที่ฝ่ายผลิตมักทำไม่ได้หรือทำไม่สอดคล้องจริง (ควรหันมาใช้แผนคุณภาพเป็นตัวหลัก ไล่ตรวจสอบได้ทุกจุดงาน)

ณ บางมด วันหยุดแบบสบายๆ

การตรวจติดตามเรื่องความเสี่ยงด้านคุณภาพ
ตามข้อกำหนด 6.1 Action to Address Risks and Opportunities
o   ขอดู Risk Management Procedure (ถ้ามี)
o    ขอดูทะเบียนความเสี่ยง Risk Lists หรือข้อมูลด้าน Risk
o    ผลลัพธ์ของการประเมินความเสี่ยงที่มีนัยยะอะไรบ้าง
o    ปัจจัยภายในและภายนอกมีอะไรบ้างที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร
o    ผลกระทบนำไปดำเนินการใดบ้าง เชื่อมโยงถึงนโยบายไหม
o    การชี้บ่ง Risk Identification ดูหลักฐานถูกต้องหรือไม่
o    การวิเคราะห์ Risk Analysis ใช้วิธีการใด และทำถูกต้องไหม                            
o    การประเมิน Risk Evaluation ดู Risk Criteria เกณฑ์อะไร
o   ดู Risk Level: High, Medium, Low มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
o    สุ่มดูการคิดคะแนน ประเมินถูกต้องหรือไม่
o    มีแผนงานความเสี่ยง(Risk Plans) ขอดูวิธีการควบคุม
o   Risk Mitigation (Reduce, Control, Prevent) มีประสิทธิผลหรือไม่ ผลลัพธ์หน้างานตามสภาพความจริงมีอย่างไร
o    มีการพิจารณา Risk Remain ส่วนที่ซ่อนแอบแฝงอย่างไร
o    มีการสื่อสารความเสี่ยงอย่างไร มั่นใจว่าถึงกลุ่มที่ต้องรู้และเข้าถึงหรือไม่ มีประสิทธิผลเพียงใด
o    กฎหมายที่ส่งผลกับความเสี่ยงมีพิจารณาหรือไม่ อย่างไร
o   On Site ดูผลที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับ กิจกรรม กระบวนการ Function สินค้า รวมถึงแหล่งข้อมูลความเสี่ยง
o    หลังออกแผนงานความเสี่ยงมีการเฝ้าระวัง (Monitoring) หรือไม่ อย่างไร กำหนดความถี่อย่างไร ทำตามครบถ้วนไหม
o    มีการทบทวนเมื่อไร(Review) ขอดูข้อมูลและผลที่ได้
o    มีการรายงาน Report Risk/ Record Risk นำเข้าสู่งานทบทวนบริหารหรือไม่ ผลการจัดการต่อเนื่องหรือไม่
o    โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงในอนาคต ดำเนินการอย่างไร
      o    กรณีมีการเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่ต้องประเมินความเสี่ยงใหม่

ตรวจสอบงานซ่อมบำรุง
ขอดู KPI ของหน่วยงาน ผลลัพท์ได้ตามเป้าหมายหรือไม่
ขอดู Machine List มีการจัดทำหรือไม่ ครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่ มีการตกหล่นหรือไม่
# ขอดู Maintenance List ทั่วไป
# ขอดู Preventive Maintenance Plan จัดทำหรือไม่ ใช้หลักเกณฑ์อะไร
# ขอดู Machine History และ Machine Record มีการจัดทำหรือไม่ ครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่ มีการตกหล่นหรือไม่
# จากนั้นให้นำชื่อที่จดชื่อเครื่องจักร หมายเลขและ Serial Number และยี่ห้อ จากการตรวจสอบหลายๆจุดหน้างานการผลิต มาตรวจสอบที่หน่วยงานซ่อมบำรุงนี้ว่าตรงกับประวัติและบันทึกหรือไม่ มีครบถ้วนหรือไม่
# เครื่องจักรสำคัญ อยู่ในรายการที่ต้องซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน: Preventive Maintenance หรือไม่
# ขอดูประวัติการซ่อมทั้งหมด(เท่าที่จะมีเวลา)
# ให้ติดตามงานซ่อมที่ล่าช้าหรืองานค้างมีมากน้อยเพียงใด
# ขอดูการออกใบแจ้งซ่อมทำครบถ้วน มีงานค้างมากหรือไม่ ดำเนินการหรือเปล่า
# ขอดูการซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกันว่าเป็นไปตามแผนงานหรือไม่ ทั้งประเภทแผนสัปดาห์ แผนเดือน หรือทุกๆสามเดือน ทุกๆหกเดือน หรือทุกปี
# ขอดูการซ่อมบำรุงรักษารายวัน ใครทำ เป็นหน่วยงานผลิตทำ หรือหน่วยงานซ่อมบำรุงรักษาทำ ใช่หรือไม่ ทำทุกหัวข้อ ทุกเครื่องจักรตามที่กำหนดครบถ้วนหรือไม่?
# มีการทำTPM(การบำรุงรักษาเชิงทวีผล) หรือไม่ ผลลัพท์เป็นอย่างไร ได้ปฎิบัติตามที่กำหนดหรือไม่
# การดูแลและการจัดเตรียมอะไหล่สำหรับการซ่อมทั่วไปและการซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกันทำอย่างไร มั่นใจหรือไม่ว่ามีอะไหล่และทำได้ตามแผนงาน
# กรณีทำไม่ได้ตามแผนงาน มีแผนปฎิบัติอย่างไร
# วิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักรแต่ละเครื่อง จุดสำคัญที่ต้องทำมีอะไร ทำจริง ทำครบถ้วนหรือไม่ และมีคู่มือหรือ Manual ในการการทำงานหรือไม่
# การซ่อมมีการใช้ผู้รับเหมาจากภายนอก(Sub-Contractor)หรือไม่ มีการควบคุมงาน ตรวจรับงานซ่อมอย่างไร
# ใครออกแผนงานซ่อม ใครอนุมัติและใครทบทวนแผนงานเป็นไปตามกฎการให้อนุมัติ (Authorization) หรือไม่
# ในใบบันทึกการซ่อมงาน ลงครบถ้วนหรือไม่ เขียนอ่านออกหรือไม่
# ไปดูสภาพการจัดเก็บ ดูแลรักษาเครื่องจักรสำรอง เครื่องจักรที่ไม่ใช้งาน หรือเครื่องจักรที่รอจัดจำหน่ายออกจากระบบหรือใช้งานไม่ได้แล้ว มีการติดป้ายบ่งบอกชัดเจนหรือไม่ จัดเก็บในพื้นที่ที่กำหนดหรือไม่ และลงบันทึกประวัติครบถ้วนแล้วหรือยัง

หากหน่วยงานนี้ดูแลพวกแม่พิมพ์หรือ Mold ก็หลักการณ์คล้ายๆการตรวจสอบเครื่องจักรคือ
# ขอดู Mold List มีการจัดทำหรือไม่ ครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่ มีการตกหล่นหรือไม่
# ขอดู Mold Preventive Maintenance Plan จัดทำหรือไม่ ใช้หลักเกณฑ์อะไร
# ขอดู Mold History และ Mold Recordมีการจัดทำหรือไม่ ครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่ มีการตกหล่นหรือไม่ กำหนดให้ใช้งานได้เท่าไร กี่ชอต ขณะนี้ใช้งานไปแล้วเท่าไร กี่ชอต กี่ครั้ง ถึงเวลาใดต้องเปลี่ยนแม่พิมพ์
# ไปดูสภาพการจัดเก็บ ดูแลรักษาแม่พิมพ์สำรอง แม่พิมพ์ที่ไม่ได้ใช้งาน หรือแม่พิมพ์ที่รอจัดจำหน่ายออกจากระบบหรือใช้งานไม่ได้แล้ว มีการติดป้ายบ่งบอกชัดเจนหรืไม่ ดูแลรักษาอย่างไร จัดเก็บในพื้นที่ที่กำหนดหรือไม่ มีการป้องกันการผุกร่อน และทาจารบี ปิดซีล หุ้มห่ออย่างดีหรือไม่ และลงบันทึกการทำชอตสุดท้ายของชิ้นงานแล้วหรือยัง ประวัติอื่นๆลงครบถ้วนแล้วหรือไม่
# ให้ตรวจสอบการสื่อสารต่างๆไปยังพนักงานซ่อมบำรุงทั่วถึงหรือไม่ พนักงานมีส่วนร่วมในระบบบริหารคุณภาพมากน้อยเพียงใด พนักงานมีความเข้าใจในเนื้อหาใจความของนโยบายมากน้อยเพียงใด รู้หรือไม่ใครคือลูกค้าฝ่ายตน หรือคนที่รับงานต่อจากกระบวนการของตนคือใคร
# ขอดูประวัติการฝึกอบรมของช่าง ของหัวหน้างานและอาจสุ่มของพนักงานว่าได้รับการอบรมตามแผนและผู้ที่จำเป็นต้องรับการอบรมตาม Training Need ของแต่ละตำแหน่งงาน ได้รับอบรมจริงหรือไม่ และอบรมในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ คือต้องไม่ล่าช้าหรือค้างนานจนทำให้เกิดความเสียหายในหน้าที่เพราะความไม่รู้ และความไม่เข้าใจ(Lack of Competence)

Audit ฝ่าย QA/QC
# ขอดูคู่มือคุณภาพหรือ QM ว่า Deploy มาให้และเป็นฉบับ Up-Date หรือไม่
# นโยบายที่ระบุในคู่มือคุณภาพหรือ QM ผู้จัดการฝ่าย QA/QCนั้นเข้าใจและนำไปปฎิบัติหรือไม่ อย่างไร
# นโยบายที่กำหนดให้ฝ่ายนำไปดำเนินการหรือไม่ อย่างไร
# ผู้จัดการฝ่าย เข้าใจเนื้อหาใจความของนโยบายคุณภาพอย่างไร ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด และการมีส่วนร่วมจะไปตรวจสอบที่พนักงานโดยสุ่มถามหลายๆคนและหลายๆพื้นที่งาน
# ขอดูแผนผังองค์กรฝ่าย QA/QCว่าสอดคล้องกับแผนผังองค์กรรวมของทั้งองค์กรหรือไม่ Up-Date หรือไม่
# ตรวจสอบการสื่อสารต่างๆไปยังพนักงานทั่วถึงหรือไม่ พนักงานมีส่วนร่วมในระบบบริหารคุณภาพมากน้อยเพียงใด พนักงานมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด รู้หรือไม่ใครคือลูกค้าฝ่ายตน หรือคนที่รับงานต่อจากกระบวนการของตนคือใคร
# ขอดูประวัติการฝึกอบรมทั้งของผู้จัดการ หัวหน้างานและอาจสุ่มของพนักงานว่าได้รับการอบรมตามแผนและผู้ที่จำเป็นต้องรับการอบรมตาม Training Need ได้รับอบรมไปจริงหรือไม่ อบรมในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ ต้องไม่ล่าช้าหรือค้างนานจนทำความเสียหายในหน้าที่ด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจ
# ขอดูค่า KPI ขอแต่ละฝ่าย QA/QC สามารถทำได้ตามเป้าหมายหรือไม่ กรณีทำไม่ได้มีแผนปฎิบัติการอย่างไร ไม่ใช่ปล่อยทิ้ง ไม่ได้เป้าหมายก็ไม่ได้ทำอะไร โดยเฉพาะเป้าหมายด้านคุณภาพ มีและเหมาะสมเพียงใด
# การตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายขึ้นมานั้นใช้อะไรเป็นตัวพิจารณา เป็นเป้าหมายรวมทั้งองค์กรหรือแยกเป็นฝ่ายๆ โดยการตั้งเป้าหมายสอดคล้องกับลักษณะงานที่ฝ่ายนั้นรับผิดชอบหรือไม่
# มีการทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ ความถี่ในการทบทวน หรือทำการทบทวนเมื่อไรบ้าง
# อาจสุ่มสอบถามปัญหาหลักที่ถูกตรวจติดตามคุณภาพภายใน(IQA) รวมทั้งการเข้าร่วมประชุมงานทบทวนบริหารคุณภาพ(Management Review)ว่ามีส่วนร่วม เข้าใจและติดตามปัญหาอย่างไร เนื้อหาหลักๆทั้งหมดในสองหัวข้อนี้จะไปตรวจสอบเข้มที่ QMR อีกครั้ง หาก QA Manager เป็น QMR ด้วยก็สามารถตรวจสอบต่อไปในหัวข้อ IQA และ Management Review หากว่า QA Manager ไม่ใช่ QMR ก็ไม่ต้องตรวจหรือ Audit สองหัวข้อนี้
# ขอดูและควรนำแผนคุณภาพหรือ Quality Plans มาใช้ตรวจสอบทุกจุดทำงานจะพบสิ่งที่ฝ่ายทำไม่ได้หรือทำไม่สอดคล้องจริงหรือไม่ ตรวจสอบว่าแผนคุณภาพจัดทำใาถูกต้องหรือไม่
# บางแห่งทำเป็น QC Flow Chart ให้ขอดูและนำมาใช้ตรวจสอบทุกขั้นตอน เพราะ QC Flow Chart คือส่วนหนึ่งของแผนคุณภาพ
# ขอดูผลการตรวจและผลสรุปประจำวัน ประจำสัปดาห์และประจำเดือนของ Incoming Inspection
# ขอดูผลการตรวจและผลสรุปประจำวัน ประจำสัปดาห์และประจำเดือนของ In-Process Inspection
# ขอดูผลการตรวจและผลสรุปประจำวัน ประจำสัปดาห์และประจำเดือนของ Outgoing  Inspection หรือ Final Inspection
# ขอดู Check List หรือ Check Sheet ที่ใช้ในการตรวจสอบต่างๆ
# มีการทดสอบแบบเปรียบเทียบ(Comparative Test)หรือไม่
# ตรวจสอบ First Sample รวมทั้งการควบคุมดูแล Standard samples ว่าถูกวิธี ป้องกันการเสื่อมสภาพ มีการชี้บ่งชัดเจน และกำหนด Retention Time หรือไม่
# ตรวจสอบสิ่งต่างๆหรือประเภทที่มีอายุการจัดเก็บหรือ Shelf Life ว่าควบคุมดูแลอย่างไร
# ตรวจสอบการใช้แผนการสุ่มตัวอย่าง(Sampling Plan)ว่าถูกต้องตามหลักสถิติหริอไม่
# การใช้ Standard ประเภท ASTM, JIS, DIN, TIS หรือ มอก. มีการควบคุมเป็นแบบไร คัดลอกมาทำใหม่หรือควบคุมแบบเอกสารจากภายนอก (Outside Document Control)
ทำอย่างไร ขึ้นทะเบียนหรือไม่
# ตรวจสอบว่าทำงานตามระเบียบปฎิบัติ(Procedure) หรือไม่
# ตรวจสอบว่ามีคู่มือการทดสอบและการตรวจสอบ(WI และ Test Method)อะไรบ้าง
# ตรวจสอบการวัดค่าและค่าที่ทดสอบถูกต้องหรือไม่ รวมทั้งการลงค่านัยสำคัญ การบันทึกผลการตรวจสอบต่างๆครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่
# ขอดูผลการตรวจสอบจากภายนอก เช่น ใบ COA (Certificate of Analysis)
# ให้ตรวจสอบการชี้บ่ง(Identification)เครื่องมือวัดทดสอบทุกชนิดที่มีผลต่อคุณภาพได้รับการสอบเทียบและควบคุมหรือไม่
# พนักงานQA/QC ใช้เครื่องมือถูกหลักการและระมัดระวังหรือไม่
# ตรวจสอบกรณีพบว่าเครื่องมือวัดและทดสอบเกิน Due ที่ต้องรับการสอบเทียบ สินค้าเหล่านั้นมีการจัดการ การเรียกคืน(Recall)อย่างไร
# ติดตามผลการปลดปล่อยสินค้า (Release Product) หลังจากแก้ไขสิ่งบกพร่องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่
# ตรวจสอบหน้างานมีการแสดงสถานะ ติดป้ายหรือติดลาเบลหรือสติ๊กเกอร์หรือไม่ ผลการตรวจสอบเป็นอย่างไร ทั้ง QC Passed, QC Hold, QC Rejected ทำตามระเบียบหรือไม่
# วัตถุดิบ ชิ้นงาน สินค้ากึ่งสำเร็จรูป(Semi-Product) สินค้าสำเร็จรูป(Goods)ที่ผลลัพท์การตรวจสอบทั้ง QC Passed, Hold, Rejected จัดเก็บในพื้นที่ ที่กำหนดหรือไม่
# ให้ตรวจสอบกรณีอนุโลม(Concession) ทำตามวิธีการที่กำหนดหรือไม่ ใครอนุมัติ ตรงตามอำนาจการอนุมัติ(Authorization) หรือไม่
# ผลการอนุโลมมีซ้ำบ่อยครั้ง ปัญหาเกิดซ้ำๆ ได้รับการแก้ไขหรือไม่
# ตรวจสอบว่าการผลิตกับผลทดสอบเป็นไปตามมาตรฐาน ตามข้อกำหนดของลูกค้าหรือไม่
# กรณีสินค้าไม่ได้ตามข้อกำหนดหรือ Non-Conformity ทำตามที่กำหนดหรือไม่
# ขอดู Non-Conformity Record
# การทำให้สินค้ายอมรับจากลูกค้าทำอย่างไร มีการ Rework หรือ Repair หรือ Re-Grade หรือสุดท้ายเป็นของเสีย(Scrap) ทำอย่างไร บันทึกผลถูกต้องหรือไม่
# ขอดูผลการวิเคราะห์ปัญหาคุณภาพและบันทึกผลการประชุมด้านคุณภาพต่างๆ
# การวิเคราะห์ปัญหาใช้เครื่องมืออะไร ใช้หลักสถิติมาช่วยงานหรือไม่ และทำถูกต้องหรือไม่
# ขอดูรายการที่ลูกค้าเคลม
# ผลการตรวจสอบและการชี้บ่งต่างๆสามารถสอบกลับ(Traceability)ได้หรือไม่
# ขอดูผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาคุณภาพด้านเคลม ทำอย่างไร มีค้างมากน้อยแค่ไหน
# ขอดูผลสะท้อน (Feed Back) จากลูกค้าและผลการวัดความพึงพอใจจากลูกค้าที่ร้องเรียนมาดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่
# การสื่อสารกับลูกค้าทำอย่างไร ผลที่ได้เป็นอย่างไร หากลูกค้าร้องเรียนติดต่อกับใคร และติดต่อช่องทางใดได้บ้าง ใครรับผิดชอบ ต้องตอบกลับลูกค้าภายในกี่วันและตั้งเป็นค่า KPI ด้วยหรือไม่ ตั้งค่าแล้วทำได้จริงหรือไม่
# การประสานงานระหว่างฝ่ายQA/QC กับฝ่ายขายทำอย่างไร มีระเบียบและขั้นตอนอย่างไร ได้ทำตามที่ระบุหรือไม่
# มีลูกค้าจ้างทำสินค้าและนำวัสดุ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์มาให้หรือไม่(ถือว่าเป็นสมบัติของลูกค้าหรือ Customer Property) หากมี ได้ดำเนินการอย่างไร มีการดูแลรักษาดีหรือไม่ กรณีพบชำรุดเสียหายได้มีการสื่อสารและแจ้งลูกค้าทราบหรือไม่
# เกณฑ์การคัดเลือกซัพพลายเออร์(Supplier)ด้านคุณภาพกำหนดหลักเกณฑ์ร่วมกับฝ่ายจัดซื้ออย่างไร ทั้งการคัดเลือก(Selection) การประเมินผล(Evaluate) ทำอย่างไร
การตัดเกรด(Rating) ด้านคุณภาพ ฝ่าย QA/QC ทำอย่างไร ตรวจสอบผลลัพท์ถูกต้องหรือไม่
# มีการประเมินซัพพลายเออร์(Supplier)และผู้รับเหมา(Contractor)และผู้รับเหมาช่วง(Sub-Contractor)ครบถ้วนหรือไม่ มีรายใหม่เข้ามารับการประเมินแล้วหรือยัง
# สุ่มตรวจสอบเอกสารฝ่ายQA/QC ให้ตรวจสอบว่ามีการขึ้นทะเบียนหรือไม่ มีการแจกจ่ายถูกต้องตามที่ระเบียบกำหนดหรือไม่ เอกสารที่จัดเก็บมีการชี้บ่งชัดเจนหรือไม่ และเก็บเข้าที่ถูกแฟ้ม ถูกจุดงานหรือไม่ หากมีการเปลี่ยนแปลงเอกสารฉบับใหม่ทำให้ถูกต้องหรือยัง และชุดเก่าเก็บออกจากจุดทำงานหรือยัง
# ตรวจสอบการปฎิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพในฝ่ายมีอะไร ความคืบหน้าและ Action
# ตรวจสอบการปฎิบัติการป้องกันปัญหาคุณภาพในฝ่ายมีอะไร ความคืบหน้าและ Action
# มีการปรับปรุง(Continual improvement)อะไรบ้าง รวมทั้งกิจกรรมที่มาส่งเสริมด้านคุณภาพมีอะไรบ้าง คืบหน้าเพียงใด
# มีแผนงานอะไรบ้าง (Project Plans) ต่างๆ รวมทั้งแผนปฎิบัติการต่างๆ(Action Plans) ด้านคุณภาพ
# ให้ตรวจสอบเอกสารที่ระบุเวลาจัดเก็บแล้ว ทำจริงตามนั้นหรือไม่ การดูแลเอกสารดีหรือไม่ ถึงเวลาต้องทำลายเอกสารเก่านั้นดำเนินการหรือยัง
# ให้ตรวจสอบพนักงานทำงานที่สำเนาหรือถ่ายเอกสารใช้งานเอง (โอกาสสร้างปัญหาภายภาคหน้าได้) ให้ดูว่ามีการแอบถ่ายสำเนาใช้งานหรือไม่
# ตรวจสอบดูบันทึกคุณภาพว่าทำตามระเบียบหรือไม่ จัดเก็บและดูแลรักษาดีหรือไม่
การลงบันทึกผลต่างๆครบถ้วนหรือไม่ อ่านออกหรือไม่

ตรวจสอบงานสอบเทียบที่ศูนย์หรือหน่วยงานสอบเทียบ (Calibration Center)
# ขอดู Calibration List
# ขอดู Calibration Record
# ตรวจสอบเครื่องมือวัดที่มีผลกับคุณภาพว่าทำรายการครบถ้วนหรือไม่ มีการสอบเทียบตามความถี่ที่กำหนดหรือไม่
# ขอดูประวัติเครื่องมือวัด มีรายละเอียดอย่างไร บันทึกข้อมูลครบถ้วนหรือไม่
# การสอบเทียบแบบภายใน(ทำเอง) มีส่งคนไปอบรมและมีความสามารถทำการสอบเทียบได้หรือไม่
# การสอบเทียบแบบภายใน มีการจัดทำคู่มือการสอบเทียบครบหรือไม่ มีตัวมาสเตอร์ (Master) ที่ใช้สอบเทียบหรือไม่
# การควบคุมตัวมาสเตอร์ (Master)ทำอย่างไร และต้องไม่พบการนำตัวมาสเตอร์ไปใช้งานวัดชิ้นงานหรือวัดทดสอบในโรงงาน
# ตรวจสอบห้องที่ใช้สอบเทียบมีความเป็นมาตรฐานตามที่ระบุหรือไม่ รวมทั้งการจัดเก็บ ดูแลรักษาตัว Master และอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่างๆ
# การสอบเทียบในห้องสอบเทียบทำตามสภาวะ(Condition) หรือไม่ ควบคุมทั้งอุณหภูมิ ความชื้นอย่างไร
# นำรายชื่อเครี่องมือวัดที่สุ่มมาจากจุดงานต่างๆว่าสอบเทียบหรือไม่ ข้อมูลตรงจริงหรือไม่ ทั้งหมายเลข วันที่รับการสอบเทียบ วันครบกำหนดสอบเทียบ ชื่อรุ่น
# ตรวจสอบค่าหรือช่วงใช้งานได้รับการสอบเทียบครอบคลุมถึงหรือไม่และค่า Acceptance Criteria
# การกำหนดค่าสอบเทียบและความถี่ในการสอบเทียบสมเหตุผลและถูกต้องตามหลักวิชาการ หรือมาตรฐานการสอบเทียบหรือไม่ (Calibration Standard) เช่นเครื่องชั่ง(Balance)กำหนดสามปีรับการสอบเทียบหนึ่งครั้ง หรือบางอย่างกำหนดสอบเทียบปีละครั้ง แต่สภาพใช้งานแค่หกเดือนก็คลาดเคลื่อนไม่อาจยอมรับค่าได้
# ตรวจดูสภาพการใช้งานและโอกาสที่เครื่องเกิดผิดพลาดหรือ Out of Calibration
# ดูผลการทดสอบรวมทั้งใบรับรองและใบสอบเทียบจากภายนอกทั้งหมด(Calibration Certificate)
# การสอบเทียบและการบันทึกข้อมูลทั้ง Measuring Devices และ  Softwares
# มีการชี้บ่งเครื่องมือวัดครบทุกตัวหรือไม่ ติดลาเบลหรือสติ๊กเกอร์เหมาะสมหรือไม่ ชัดเจนอ่านออกหรือไม่ ไม่ลอก ไม่หลุด ไม่ล่วง หรือขนาดอักษรตัวเล็กเกินไป รวมทั้งสามารถสอบกลับได้หรือไม่

Audit ที่ QMR
# ขอดูคู่มือคุณภาพหรือ QM
# ขอดู Business Plans
# ขอดู Strategic Plans
# สอบถามเกี่ยวกับขอบข่ายขอรับการรับรอง เมื่อมีข้อสงสัย (เฉพาะ Audit โดย CB) ภายในก็อาจสอบถามที่ผู้จัดการทุกฝ่ายเกี่ยวกับแผนผังองค์กรให้ชัดเจน มีหน่วยงานย่อยใดบ้าง อยู่ที่ใด ดูจาก Lay Out เพื่อให้การตรวจครบถ้วน
# ตรวจสอบการ Deploy Quality Policy สื่อสารถึงพนักงานทั้งองค์กรหรือไม่
# นโยบายที่ระบุในคู่มือคุณภาพหรือ QMทุกฝ่ายนำไปดำเนินการหรือไม่ อย่างไร
# นโยบายคุณภาพกับการมีส่วนร่วมของพนักงานเป็นอย่างไร ให้ตรวจสอบที่พนักงานโดยสุ่มถามหลายๆคนและหลายๆพื้นที่งานนำมาประเมินผลลัพท์
# QMR ได้ดำเนินการรณรงค์ ส่งเสริมและรักษาระบบคุณภาพมากน้อยแค่ใด ทำอย่างไรบ้าง มีกิจกรรมและทีมงานใดบ้าง และผลลัพท์ที่ได้
# ขอดูแผนผังทั้งองค์กรและของทุกฝ่ายว่าสอดคล้องกับแผนผังองค์กรรวมของทั้งองค์กรหรือไม่ Up-Date หรือไม่
# ตำแหน่ง QMR กำหนดไว้ในแผนผังองค์กรหรือไม่ กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของ QMR ครบถ้วนหรือไม่
# มีการประกาศแต่งตั้ง QMR แล้วหรือยัง
# QMR มีคุณสมบัติเหมาะสมเพียงใด รับการอบรมครบถ้วนตามมาตรฐานหรือไม่
# การแต่งตั้ง QMR เป็นใคร จากฝ่ายใด เป็นระดับจัดการหรือไม่
# ตรวจสอบการสื่อสารต่างๆไปยังพนักงานทั่วถึงหรือไม่ พนักงานมีส่วนร่วมในระบบบริหารคุณภาพมากน้อยเพียงใด พนักงานมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด รู้หรือไม่ใครคือลูกค้าฝ่ายตน หรือคนที่รับงานต่อจากกระบวนการของตนคือใคร
# ขอดูประวัติการฝึกอบรมทั้งของ QMR และ Document Controller และอาจสุ่มของพนักงานว่าได้รับการอบรมตามแผนและผู้ที่จำเป็นต้องรับการอบรมตาม Training Need ได้รับอบรมไปจริงหรือไม่ อบรมในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ ต้องไม่ล่าช้าหรือค้างนานจนทำความเสียหายในหน้าที่ด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจ
# ขอดูค่า KPI ของแต่ละฝ่าย สามารถทำได้ตามเป้าหมายหรือไม่ กรณีทำไม่ได้มีแผนปฎิบัติการอย่างไร ไม่ใช่ปล่อยทิ้ง ไม่ได้เป้าหมายก็ไม่ได้ทำอะไร โดยเฉพาะเป้าหมายด้านคุณภาพ มีและเหมาะสมเพียงใด
# การตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายขึ้นมานั้นใช้อะไรเป็นตัวพิจารณา เป็นเป้าหมายรวมทั้งองค์กรหรือแยกเป็นฝ่ายๆ โดยการตั้งเป้าหมายสอดคล้องกับลักษณะงานที่ฝ่ายนั้นรับผิดชอบหรือไม่ สะท้อนในงานหลักขององค์กรหรือไม่และสามารถวัดผลได้
# มีการทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ ความถี่ในการทบทวน หรือทำการทบทวน
เมื่อไรบ้าง

ตรวจสอบการทำ Internal Audit ที่ QMR
# แต่งตั้งทีมตรวจสอบภายใน(Internal Quality Audit Team)แล้วหรือยัง มีจำนวนไร จากฝ่ายใดบ้าง
# ทีมตรวจสอบภายใน(Internal Quality Audit Team)ได้รับการอบรมหลักสูตร Internal Quality Audit Course แล้วหรือยัง ครบทุกคน และผลการสอบผ่านหรือไม่ ตรวจสอบ Auditor Qualification?
# ขอดูว่าใครเป็นวิทยากรอบรมหลักสูตร ข้อสอบน่าเชื่อมั่นในประสิทธิผลหรือไม่ หากเป็นบริษัทที่ฝึกอบรมมักออกใบ Certificate ให้ขอดูว่าผู้เป็นผู้ตรวจสอบเข้ารับการอบรมจริงหรือไม่
# ขอดูแผนการตรวจติดตามคุณภาพภายใน (Internal Audit Plan)
# ขอดูการจัดทีมตรวจสอบว่ามีการ Bias หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ห้ามตรวจสอบฝ่ายที่ผู้ตรวจสอบภายในรับผิดชอบ
# ขอดู Checklist ที่ใช้ตรวจสอบว่าครบถ้วนหรือไม่ (ข้อนี้ผิดพลาดบ่อย ตกหล่นกันบ่อย โดนCAR จากผู้ตรวจสอบจากภายนอกหรือ CB เสมอๆ)
# ขอดูหลักฐานการไปตรวจสอบของทุกฝ่าย เช่นใบแจ้งการตรวจสอบ
# ขอดูผลการตรวจสอบตามแผนงานหรือไม่ กรณีไม่ได้ตรวจตามกำหนด มีการปรับแผนการตรวจสอบหรือยัง (Revise Audit Plan)
# ขอดูรายงานการตรวจสอบ (Audit Report)
# ขอดูข้อบกพร่องหรือ Corrective Action Requist หรือ CAR ว่าออกถูกต้องหรือไม่
# หลังการตรวจสอบมีการแจ้งไปให้ฝ่ายที่ต้องดำเนินการแก้ไขหรือไม่ และผลการแก้ไขแล้วเสร็จหรือไม่
# ขอดู Audit Log ว่ามีการปิด CAR ครบถ้วนหรือในเวลาที่เหมาะสมหรือยัง และลงบันทึกใบ CAR ครบถ้วนไม่มีตกหล่น
# มีการปิดCAR หรือปฎิบัติการแก้ไขแล้วเสร็จ ก่อนการประชุมทบทวนงานบริหารคุณภาพ(Management Review Meeting) หรือไม่

ตรวจสอบการประชุมทบทวนงานบริหารคุณภาพ(Management Review Meeting)ที่ QMR
# ขอดูรายงาน การประชุมทบทวนงานบริหารคุณภาพ(Management Review Meeting)ครั้งล่าสุดทำการประชุมเมื่อไร
# การประชุมงานทบทวนบริหารคุณภาพ ทำปีละกี่ครั้ง เป็นไปตามแผนงานหรือไม่ ขอดูแผนงานด้วย
# ในเนื้อหาของการประชุมงานทบทวนบริหารคุณภาพครบถ้วนตามข้อกำหนดหรือไม่
# ในวาระการประชุมมีข้อมูล สรุปผลและวิเคราะห์การตรวจติดตามคุณภาพภายในหรือไม่
มีวาระการประชุมคราวที่แล้วหรือไม่ และงานค้าง ข้อเสนอแนะของผู้บริหารระดับสูงได้ดำเนินการครบถ้วนหรือยัง มีความคืบหน้าอย่างไร
# ข้อร้องเรียนของลูกค้าและเคลม(Customer Complaint and Claim)ดำเนินการอย่างไร วิเคราะห์และสรุปผลอย่างไร ปัญหาได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่
# รวมทั้งการวัดความพึงพอใจของลูกค้าหรือยัง(Customer Satisfaction)
# ตรวจสอบหลักฐานในใบCAR และเรื่องเคลมว่าดำเนินการปฎิบัติการแก้ไข (Corrective Action) แล้วเสร็จ ไม่ให้ปัญหาเกิดซ้ำ ใช้วิธีการได้ผลหรือไม่ (ไม่ใช่การเขียนแค่ให้ครบและปิดเรื่องเท่านั้น)
# ตรวจสอบหลักฐานในส่วนการป้องกันปัญหา(Preventive Action) ไม่ให้เกิดใหม่ ว่ามีประสิทธิผล(Effectiveness)หรือไม่ ตรวจสอบว่าปัญหาที่เคยเกิดได้สูญหานไป ไม่ปรากฎอีกเลยหรือไม่
# มีการประเมิน Supplier รวมทั้ง Out Source และ Sub-Contract แล้วหรือไม่ และวิเคราะห์แล้วหรือยัง สรุปและดำเนินหารอย่างไร
# มี Process Performance อย่างไร รวมทั้งการวิเคราะห์กระบวนการสำคัญๆ
# ข้อมูลนำเข้าต้องครบถ้วนหรือไม่ (ดูจาก Management Review Input)
# ส่วน Management Review Output  ให้ตรวจสอบว่าผู้บริหารระดับสูงมีข้อเสนอแนะใดบ้าง ผู้เกี่ยวข้องมีการนำไปดำเนินการต่อไปอย่างไร
# ขอดูและควรนำแผนคุณภาพหรือ Quality Plans มาใช้ตรวจสอบทุกจุดทำงาน
# ขอดูการปรับปรุงและประสิทธิผลในระบบบริหารคุณภาพ รวมทั้งกิจกรรมที่ช่วยปรับปรุงมีอะไรบ้าง เช่น 5ส QCC การทำ Benchmarking เป็นต้น
# ขอดู Human Resource Plans และ Facilities รวมทั้ง Resource Needs ต่างๆ
# ตรวจสอบบันทึกเชิญการประชุมงานทบทวนบริหารคุณภาพและผู้เข้าร่วมการประชุมครบถ้วนหรือไม่ อย่างไร
# ตรวจสอบการแจกจ่ายรายงานการประชุมงานทบทวนบริหารคุณภาพ(Management Review Meeting Report) ครบถ้วนหรือไม่ รวมทั้งการติดตามงานในระบบ QMS ของ QMR

ตรวจสอบงานควบคุมระบบเอกสารที่ Document Controller และที่ QMR
# ขอดู QM และการแจกจ่ายครบถ้วน Up-Date หรือไม่
# ขอดู Master List ทั้งระบบ
# ขอดู Document Control Procedure และปฎิบัติตามที่เขียน ทำตามระบบหรือไม่โดยนำรายชื่อเอกสารที่จดไว้ตอนตรวจหน้างานจากทุกๆฝ่าย มาตรวจสอบกับ Master List
ว่าถูกต้องตรงกัน ครบถ้วนหรือไม่
# ขอดูการขึ้นทะเบียนเอกสารและการออก DAR (Document Action Request)
# ขอดูการควบคุมแบบ (Drawings)
# ขอดูการควบคุมแบบฟอร์มต่างๆ
# ขอดูหลักฐานการแจกจ่ายและการรับเอกสารต่างๆ
# ขอดู Distribution Lists
# ขอดูและตรวจสอบการอนุมัติเอกสาร (Document Authorization and Approval Process)
# ขอดูการทบทวนและการอนุมัติใหม่เกี่ยวกับเอกสารต่างๆ(Review and Re-Approval)
# ขอดูการแก้ไข การเปลี่ยนแปลงเอกสารต่างๆ(Change and Revise)
# ตรวจสอบการชี้บ่ง การจัดเก็บ การดูแลเอกสารในหน่วยงานควบคุมเอกสารทั้งการใส่เข้าแฟ้ม การทำดัชนีหรือ List การค้นหาสามารถเข้าถึงได้ในเวลาอันเหมาะสม (ไม่ใช่ให้ค้นหาที หายตัวไปเป็น ชั่วโมง หรือไปทำเพิ่มเติมก็มี)
# ให้ตรวจสอบเอกสารมีครบทุกจุดทำงานหรือไม่
# ให้ตรวจสอบมีการใช้เอกสารจากภายนอกและทำการควบคุมหรือไม่
# ให้ตรวจสอบการจัดการกับเอกสารที่ล้าสมัย(Obsolete) แล้วหรือยัง จัดเก็บออกจากพื้นที่ใช้งานจริงหรือไม่ และปะปนกันหรือไม่
# ดำเนินการกับเอกสารที่ครบอายุการจัดเก็บและนำไปทำลายตามวิธีการที่ระบุหรือไม่ อย่างไร

ตรวจสอบงานควบคุมบันทึกคุณภาพที่ Document Controller และที่ QMR
# ขอดู Record Control Procedure และปฎิบัติตามที่เขียน ทำตามระบบหรือไม่
# ตรวจสอบการชี้บ่ง(Identification) การจัดเก็บ การดูแลบันทึกต่างๆในหน่วยงานควบคุมเอกสารทั้งการใส่เข้าแฟ้ม  การค้นหาสามารถเข้าถึงได้ในเวลาอันเหมาะสม (ไม่ใช่ให้ค้นหาที หายตัวไปเป็น ชั่วโมง หรือไปนั่งคิดว่าจะทำเพิ่มเติมอย่างไร ไม่ให้โดน CAR จริงๆแล้วรับไปเถอะโยม มาทำตอนนี้ก็ไม่ทัน เพราะขาดการปฎิบัติหรือ  Implementation)
# ตรวจสอบว่าบันทึกคุณภาพลงข้อมูลครบถ้วน เขียนอ่านออกหรือไม่
# บันทึกคุณภาพมีการป้องกันความเสียหาย ตรวจดูว่า ไม่ฉีกขาดจนอยู่ในสภาพไม่ดี โดนน้ำจนยุ่ย ถูกปลวกแทะหรือไม่
# ตรวจสอบบันทึกคุณภาพว่าครบอายุการจัดเก็บหรือยัง (Retention Period) ให้เก็บออกจากพื้นที่ใช้งานจริง และไม่ปะปนกัน
# ดำเนินการกับบันทึกที่ครบอายุการจัดเก็บและนำไปทำลายตามวิธีการที่ระบุหรือไม่ อย่างไร

Audit ฝ่ายจัดซื้อ
# ขอดูคู่มือคุณภาพหรือ QM ว่า Deploy มาให้และเป็นฉบับ Up-Date หรือไม่
# นโยบายที่ระบุในคู่มือคุณภาพหรือ QMผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ นั้นเข้าใจและนำไปปฎิบัติหรือไม่ อย่างไร
# นโยบายที่กำหนดให้ฝ่ายนำไปดำเนินการหรือไม่ อย่างไร
#ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เข้าใจเนื้อหาใจความของนโยบายคุณภาพอย่างไร ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด และการมีส่วนร่วมจะไปตรวจสอบที่พนักงานโดยสุ่มถามหลายๆคนและหลายๆพื้นที่งาน
# ขอดูแผนผังองค์กรฝ่ายจัดซื้อ ว่าสอดคล้องกับแผนผังองค์กรรวมของทั้งองค์กรหรือไม่ Up-Date หรือไม่
# ตรวจสอบการสื่อสารต่างๆไปยังพนักงานทั่วถึงหรือไม่ พนักงานมีส่วนร่วมในระบบบริหาร คุณภาพมากน้อยเพียงใด พนักงานมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด รู้หรือไม่ใครคือลูกค้าฝ่ายตน หรือคนที่รับงานต่อจากกระบวนการของตนคือใคร
# ขอดูประวัติการฝึกอบรมทั้งของผู้จัดการ หัวหน้างานและอาจสุ่มของพนักงานว่าได้รับการอบรมตามแผนและผู้ที่จำเป็นต้องรับการอบรมตาม Training Need ได้รับอบรมไปจริงหรือไม่ อบรมในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ ต้องไม่ล่าช้าหรือค้างนานจนทำความเสียหายในหน้าที่ด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจ
# ขอดูค่า KPI ของแต่ละฝ่าย สามารถทำได้ตามเป้าหมายหรือไม่ กรณีทำไม่ได้มีแผนปฎิบัติการอย่างไร ไม่ใช่ปล่อยทิ้ง ไม่ได้เป้าหมายก็ไม่ได้ทำอะไร โดยเฉพาะเป้าหมายด้านคุณภาพ มีและเหมาะสมเพียงใด
# การตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายขึ้นมานั้นใช้อะไรเป็นตัวพิจารณา เป็นเป้าหมายรวมทั้งองค์กรหรือแยกเป็นฝ่ายๆ โดยการตั้งเป้าหมายสอดคล้องกับลักษณะงานที่ฝ่ายนั้นรับผิดชอบหรือไม่
# มีการทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ ความถี่ในการทบทวน หรือทำการทบทวนเมื่อไรบ้าง
# ตรวจสอบว่าฝ่ายจัดซื้อทำงานตามระเบียบปฎิบัติการจัดซื้อหรือไม่
# ขอดูและตรวจสอบ Supplier List หรือ Vendor List ว่าทำครบถ้วนหรือไม่ รายใหม่ๆได้มีการคัดเลือกเข้ามาตามระเบียบปฏิบัติหรือไม่
# ขอดูเกณฑ์การคัดเลือกซัพพลายเออร์ (Supplier  Selection)ทำถูกหลักเกณฑ์หรือไม่
# ขอดูการตัดเกรดเพื่อประเมิน Supplier ทั้งหมด
# ขอดูผลการประเมิน Supplier ทั้งหมดว่าผลการ Evaluate เป็นอย่างไร ทำตามระเบียบหรือไม่
# ขอดู Check List และรายงานที่ไปตรวจสอบ Supplier ทำได้ประสิทธิผลหรือไม่ สามารถควบคุม Supplier ได้หรือไม่
# ขอดูแผนการตรวจสอบ (Supplier Audit Plans) และมาตรการปรับปรุงคุณภาพร่วมกัน มีหรือไม่ และอย่างไร
# มีการประเมิน Supplier Capability อย่างไร
# กรณี Supplier ทำไม่ได้ตามเกณฑ์ ได้ดำเนินการอย่างไร มีการแก้ไขปรับปรุงหรือไม่และผลลัพท์เป็นอย่างไร
# ขอดูผลการวิเคราะห์ Supplier ว่าทำแล้วหรือไม่
# การสั่งซื้อของเป็นไปตามความต้องการหรือตรงตาม Requirement หรือ Specification หรือไม่
# ขอดูการ Complaint และการ Reject ของ Supplier ที่มีปัญหาด้านคุณภาพและการจัดการแก้ไข อย่างไร
# ขอดู Criteria ของการ Re-Evaluation มีหรือไม่ และทำอย่างไร
# ตรวจสอบการสื่อสารกับ Supplier มีวิธีการใด สื่อสารได้ผลดีหรือไม่ การตอบกลับล่าช้าหรือไม่
# การสั่งซื้อตาม Order List หรือใช้ Price List กับผลลัพท์เป็นอย่างไร
# ตรวจสอบการอนุมัติการสั่งซื้อเป็นไปตามระเบียบหรือไม่
# มีการติดตามงานสั่งซื้อหรือไม่ กรณีสั่งซื้อไม่ได้ แจ้งผู้เกี่ยวข้องหรือไม่ ประสานงานอย่างไร
# กรณีสั่งซื้อเร่งด่วน กระทำหรือไม่ ดำเนินการอย่างไร
# ตรวจสอบการอนุโลมว่าทำตามระเบียบปฎิบัติหรือไม่
# ขอดูผลการตรวจสอบ ทดสอบคุณภาพวัตถุดิบ ชิ้นงานต่างๆจาก Supplier
# สุ่มตรวจสอบใบ Certificate of Analysis ว่าถูกต้องจริงตามที่รับรองมาหรือไม่
# ให้นำผล Incoming Inspection จาก QA/QC มาสุ่มตรวจที่ฝ่ายจัดซื้อเพื่อตรวจสอบให้ได้ว่า Supplier ได้รับการคัดเลือกและ Approve เข้ามา และวัตถุดิบทุกครั้งที่เข้ามาได้รับการตรวจรับเข้าตามแผนการตรวจสอบคุณภาพของฝ่าย QA/QC หรือไม่
# ขอดูและตรวจสอบการอนุมัติเอกสาร (Document Authorization and Approval Process)
# ขอดูการทบทวนและการอนุมัติใหม่เกี่ยวกับเอกสารต่างๆ(Review and Re-Approval)
# ขอดูการแก้ไข การเปลี่ยนแปลงเอกสารต่างๆ(Change and Revise)
# ตรวจสอบการชี้บ่ง การจัดเก็บ การดูแลเอกสารในฝ่ายจัดซื้อ ทั้งการใส่เข้าแฟ้ม การทำดัชนีหรือ List มีหรือไม่
# ตรวจสอบการค้นหาเอกสารจัดซื้อสามารถเข้าถึง(Access)ได้ในเวลาอันเหมาะสมหรือไม่
# เอกสารมีครบทุกจุดทำงานหรือไม่
# มีการใช้เอกสารจากภายนอกและทำการควบคุมหรือไม่
# จัดการกับเอกสารที่ล้าสมัย(Obsolete) แล้วหรือยัง จัดเก็บออกจากพื้นที่ใช้งานจริงหรือไม่ และพบปะปนกันหรือไม่
# ดำเนินการกับเอกสารที่ครบอายุการจัดก็บและนำไปทำลายตามวิธีการที่ระบุหรือไม่ อย่างไร
 # ตรวจสอบการชี้บ่ง(Identification) การจัดเก็บ การดูแลบันทึกต่างๆในหน่วยงาน ทั้งการใส่เข้าแฟ้ม  การค้นหาสามารถเข้าถึงได้ในเวลาอันเหมาะสม
# ตรวจสอบว่าบันทึกคุณภาพลงข้อมูลครบถ้วน เขียนอ่านออกหรือไม่
# บันทึกคุณภาพมีการป้องกันความเสียหาย ตรวจดูว่า ไม่ฉีกขาดจนอยู่ในสภาพไม่ดี โดนน้ำจนยุ่ย ถูกปลวกกัดกินหรือไม่
# ตรวจสอบบันทึกคุณภาพว่าครบอายุการจัดเก็บหรือยัง (Retention Period) ให้เก็บออกจากพื้นที่ใช้งานจริง และไม่ปะปนกัน
# ดำเนินการกับบันทึกที่ครบอายุการจัดก็บและนำไปทำลายตามวิธีการที่ระบุหรือไม่ อย่างไร
# อย่าลืมติดตาม Outsource มีวิธีการควบคุมอย่างไร อยู่ที่ฝ่ายใดบ้าง ครบถ้วนหรือไม่ เช่นที่ ซ่อมบำรุง HR งานสอบเทียบ งานเกี่ยวกับไอที (IT)มีการใช้บริการ Outsource จากภายนอกหรือไม่

Audit ฝ่าย HR
# ขอดูที่ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หรือฝ่ายบุคคล เริ่มจากคู่มือคุณภาพหรือ QM ว่า Deploy มาให้และเป็นฉบับ Up-Date หรือไม่
# นโยบายที่ระบุในคู่มือคุณภาพหรือ QMผู้จัดการ HR นั้นเข้าใจและนำไปปฎิบัติหรือไม่ อย่างไร
# นโยบายที่กำหนดให้ฝ่ายนำไปดำเนินการหรือไม่ อย่างไร
# ผู้จัดการฝ่าย เข้าใจเนื้อหาใจความของนโยบายคุณภาพอย่างไร ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด และการมีส่วนร่วมจะไปตรวจสอบที่พนักงานโดยสุ่มถามหลายๆคนและหลายๆพื้นที่งาน
ขอดูแผนผังองค์กรรวมทั้งหมดและของฝ่ายต่างๆ ว่าสอดคล้องกับแผนผังองค์กรรวมของทั้งองค์กรหรือไม่ Up-Date หรือไม่
# ตรวจสอบการสื่อสารต่างๆไปยังพนักงานในฝ่าย HR ว่าทั่วถึงหรือไม่ พนักงานมีส่วนร่วมในระบบบริหารคุณภาพมากน้อยเพียงใดนักงานมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด รู้หรือไม่ใครคือลูกค้าฝ่ายตน หรือคนที่รับงานต่อจากกระบวนการของตนคือใคร
# ขอดูค่า KPI ของแต่ละฝ่าย สามารถทำได้ตามเป้าหมายหรือไม่ กรณีทำไม่ได้มีแผนปฎิบัติการอย่างไร ไม่ใช่ปล่อยทิ้ง ไม่ได้เป้าหมายก็ไม่ได้ทำอะไร โดยเฉพาะเป้าหมายด้านคุณภาพ มีและเหมาะสมเพียงใด
# การตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายขึ้นมานั้นใช้อะไรเป็นตัวพิจารณา เป็นเป้าหมายรวมทั้งองค์กรหรือแยกเป็นฝ่ายๆ โดยการตั้งเป้าหมายสอดคล้องกับลักษณะงานที่ฝ่ายนั้นรับผิดชอบหรือไม่
# มีการทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ ความถี่ในการทบทวน หรือทำการทบทวนเมื่อไรบ้าง
# ตรวจสอบว่าฝ่าย HR ทำงานตามระเบียบปฎิบัติการหรือไม่
# ขอดูการทำ Training  Survey และ Training  Needs จากทุกฝ่ายที่ HR รวบรวมมาครบถ้วนหรือไม่
# นำมาออก Training Plans ใช้หลักเกณฑ์และพิจารณาอย่างใด แล้วเสร็จหรือไม่
# ขอดูประวัติการฝึกอบรมทั้งของผู้จัดการ หัวหน้างานและอาจสุ่มของพนักงานว่าได้รับการอบรมตามแผนและผู้ที่จำเป็นต้องรับการอบรมตาม Training Needs ได้รับอบรมไปจริงหรือไม่ อบรมในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ ต้องไม่ล่าช้าหรือค้างนานจนทำความเสียหายในหน้าที่ด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ขาดทักษะ(Skill)และความสามารถ(Competence)หรือไม่
# ตรวจสอบแผนการอบรมแบบภายนอก(Ex-House training)ทำได้ตามแผนหรือไม่
# ตรวจสอบแผนการอบรมแบบภายใน(In-house Training)ทำได้ตามแผนหรือไม่
# กรณีแผนการอบรมทำไม่ได้ตามแผน มีการทบทวนและแก้ไขแผนหรือไม่ มีแผนรองรับอะไรบ้าง
# กรณีอบรมภายใน วิทยากรนั้น Qualify หรือไม่ ขอดูหลักสูตรและผลการสอนและการสอบต่างๆ
# ขอดู Certificate ที่ไปอบรมมามีหรือไม่ สามารถสอบกลับได้หรือไม่
# กรณีไม่มี Certificate หรือทำการอบรมภายในกันเอง มีวิธีการใดมั่นใจว่าได้ประสิทธิผลหรือไม่ มีการทดสอบพิเศษ หรือเรียกมาสัมภาษณ์หรือไม่ อย่างไร
# การอบรมภายในมีความพร้อมหรือไม่ ทั้งวิทยากร สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ดูว่าสภาพการฝึกอบรมมีมาตรฐานหรือไม่ หรือเพียงแค่อบรมให้ครบเท่านั้น หากสอบถามพนักงานจริงพบว่าไม่เข้าใจและไม่รู้เรื่องใดๆ หรืออบรมแล้วแต่ไม่เข้าใจหรือรับการถ่ายทอดได้น้อยมาก ไม่มีประสิทธิผลหรือไม่
# สุ่มตรวจสอบทั้ง Procedure, WI และกฎระเบียบว่าได้ทำตามกฎหมายหรือไม่
# ขอดูและตรวจสอบการอนุมัติเอกสาร (Document Authorization and Approval Process)
# ขอดูการทบทวนและการอนุมัติใหม่เกี่ยวกับเอกสารต่างๆ(Review and Re-Approval)
# ขอดูการแก้ไข การเปลี่ยนแปลงเอกสารต่างๆ(Change and Revise )
# ตรวจสอบการชี้บ่ง การจัดเก็บ การดูแลเอกสารในหน่วยงาน HR ทั้งการใส่เข้าแฟ้ม การทำดัชนีหรือ List การค้นหาสามารถเข้าถึงได้ในเวลาอันเหมาะสมหรือไม่
# เอกสารมีครบทุกจุดทำงานหรือไม่
# มีการใช้เอกสารจากภายนอกและทำการควบคุมหรือไม่
# จัดการกับเอกสารที่ล้าสมัย(Obsolete) แล้วหรือยัง จัดเก็บออกจากพื้นที่ใช้งานจริงหรือไม่ และพบว่าปะปนกันหรือไม่
# ดำเนินการกับเอกสารที่ครบอายุการจัดเก็บและนำไปทำลายตามวิธีการที่ระบุหรือไม่ อย่างไร
# ขอดู Training Record หรือประวัติการอบรมของพนักงาน โดยเอารายชื่อที่ไปสุ่มจากหน้างานมาสักสิบถึงยี่สิบคนว่าอยู่ในระบบหรือไม่ หรือชื่อยังอยู่แต่คนลาออกไปแล้ว หายตัวไปแล้ว
(ไม่ต้องขอดูรายการเงินเดือน เพราะเป็นความลับขององค์กร ดูเฉพาะประวัติและความสามารถในงานและหน้าที่เท่านั้น และปกติ HR จะทำแยกออกต่างหาก ป้องกันความลับรั่วไหล ระบบเอกชนต่างจากราชการ เพราะราชการมีเปิดเผยชัดเจนว่าใครได้เงินเดือนเท่าไร กว่าจะไตร่ขึ้นมาได้ บางท่านก็เลือดตาแทบกระเด็น แต่บั้นปลายชีวิตก็มั่นคงกว่า พนักงานโรงงานควรเก็บออมเงินไว้ยามชรา สรุปอย่าไปตรวจสอบเรื่องเงินเดือน เพราะ HR ก็คงไม่ให้ดู)
# ตรวจสอบการชี้บ่ง(Identification) การจัดเก็บ การดูแลบันทึกต่างๆในหน่วยงาน HR ทั้งการใส่เข้าแฟ้ม  การค้นหาสามารถเข้าถึงได้ในเวลาอันเหมาะสม
# ตรวจสอบว่าบันทึกคุณภาพลงข้อมูลครบถ้วน เขียนอ่านออกหรือไม่
# บันทึกคุณภาพมีการป้องกันความเสียหาย ตรวจดูว่า ไม่ฉีกขาดจนอยู่ในสภาพไม่ดี โดนน้ำจนยุ่ย ถูกปลวกกัดกินหรือไม่
# ตรวจสอบบันทึกคุณภาพว่าครบอายุการจัดเก็บหรือยัง (Retention Period) ให้เก็บออกจากพื้นที่ใช้งานจริง และไม่ปะปนกัน
# ดำเนินการกับบันทึกที่ครบอายุการจัดก็บและนำไปทำลายตามวิธีการที่ระบุหรือไม่ อย่างไร
# ประวัติพนักงานจัดเก็บตามกฎหมายกำหนดหรือไม่

ตรวจประเมินคลังสินค้าและสโตร์ (Warehouse and Store Audit)
# ขอดูที่ผู้จัดการฝ่าย เริ่มจากคู่มือคุณภาพหรือ QM ว่า Deploy มาให้และเป็นฉบับ Up-Date หรือไม่
# นโยบายที่ระบุในคู่มือคุณภาพหรือ QMผู้จัดการสโตร์และคลังสินค้า นั้นเข้าใจและนำไปปฎิบัติหรือไม่ อย่างไร
# นโยบายที่กำหนดให้ฝ่ายได้นำไปดำเนินการหรือไม่ อย่างไร
# ผู้จัดการฝ่าย เข้าใจเนื้อหาใจความของนโยบายคุณภาพอย่างไร ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด และการมีส่วนร่วมจะไปตรวจสอบที่พนักงานโดยสุ่มถามหลายๆคนและหลายๆพื้นที่งาน
# ขอดูแผนผังองค์กรของฝ่ายว่าสอดคล้องกับแผนผังองค์กรรวมของทั้งองค์กรหรือไม่ Up-Date หรือไม่
# ตรวจสอบการสื่อสารต่างๆไปยังพนักงานของหน่วยงานสโตร์และคลังสินค้า ว่าทั่วถึงหรือไม่ # พนักงานมีส่วนร่วมในระบบบริหารคุณภาพมากน้อยเพียงใดนักงานมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด รู้หรือไม่ใครคือลูกค้าฝ่ายตน หรือคนที่รับงานต่อจากกระบวนการของตนคือใคร
# ขอดูค่า KPI ของแต่ละฝ่าย สามารถทำได้ตามเป้าหมายหรือไม่ กรณีทำไม่ได้มีแผนปฎิบัติการอย่างไร ไม่ใช่ปล่อยทิ้ง ไม่ได้เป้าหมายก็ไม่ได้ทำอะไร โดยเฉพาะเป้าหมายด้านคุณภาพ มีและเหมาะสมเพียงใด
# การตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายขึ้นมานั้นใช้อะไรเป็นตัวพิจารณา เป็นเป้าหมายรวมทั้งองค์กรหรือแยกเป็นฝ่ายๆ โดยการตั้งเป้าหมายสอดคล้องกับลักษณะงานที่ฝ่ายนั้นรับผิดชอบหรือไม่
# มีการทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ ความถี่ในการทบทวน หรือทำการทบทวนเมื่อไรบ้าง
# ตรวจสอบว่าทำงานตามระเบียบปฎิบัติการและ คู่มือการทำงาน(Work Instruction: WI)หรือไม่
# ขอดูและตรวจสอบการอนุมัติเอกสาร (Document Authorization and Approval Process)
# ขอดูการทบทวนและการอนุมัติใหม่เกี่ยวกับเอกสารต่างๆ(Review and Re-Approval)
# ขอดูการแก้ไข การเปลี่ยนแปลงเอกสารต่างๆ(Change and Revise)
# ตรวจสอบการชี้บ่ง การจัดเก็บ การดูแลเอกสารในสโตร์และคลังสินค้า ทั้งการใส่เข้าแฟ้ม  การทำดัชนีหรือ List มีหรือไม่
# ตรวจสอบการค้นหาสามารถเข้าถึงได้ในเวลาอันเหมาะสมหรือไม่
# เอกสารมีครบทุกจุดทำงานหรือไม่
# มีการใช้เอกสารจากภายนอกและทำการควบคุมหรือไม่
# จัดการกับเอกสารที่ล้าสมัย(Obsolete) แล้วหรือยัง จัดเก็บออกจากพื้นที่ใช้งานจริงหรือไม่ และปะปนกันหรือไม่
# ดำเนินการกับเอกสารที่ครบอายุการจัดเก็บและนำไปทำลายตามวิธีการที่ระบุหรือไม่ อย่างไร
# ตรวจสอบการชี้บ่ง(Identification) การจัดเก็บ การดูแลบันทึกต่างๆในหน่วยงาน HR ทั้งการใส่เข้าแฟ้ม  การค้นหาสามารถเข้าถึงได้ในเวลาอันเหมาะสม
# ตรวจสอบว่าบันทึกคุณภาพลงข้อมูลครบถ้วน เขียนอ่านออกหรือไม่
# บันทึกคุณภาพมีการป้องกันความเสียหาย ตรวจดูว่า ไม่ฉีกขาดจนอยู่ในสภาพไม่ดี โดนน้ำจนยุ่ย ถูกปลวกกัดกินหรือไม่
# ตรวจสอบบันทึกคุณภาพว่าครบอายุการจัดเก็บหรือยัง (Retention Period) ให้เก็บออกจากพื้นที่ใช้งานจริง และไม่ปะปนกัน
# ดำเนินการกับบันทึกที่ครบอายุการจัดเก็บและนำไปทำลายตามวิธีการที่ระบุหรือไม่ อย่างไม่
# ไปตรวจสอบการเคลื่อนย้าย(Handling) ว่าถูกวิธีการหรือไม่ การยก การเคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวังหรือไม่ การใช้แม่แรงขนย้ายและยกของถูกวิธีการหรือไม่
# เข้าไปดูพื้นที่ทำงานจริงว่ามีการจัดเก็บ(Storage)วัตถุดิบ วัสดุ ชิ้นงานและสินค้าสำเร็จรูปดีพอหรือไม่ เก็บเข้าที่ ไม่มีการปะปนกัน จัดกลุ่มจัดประเภทดี ไม่ก่อให้เกิดอันตรายด้วยหรือไม่ # หากมีการใช้ FIFO ให้ตรวจสอบเข้าก่อน จ่ายก่อนหรือไม่ ดูแลการจัดเก็บสารเคมีถูกวิธีการและมีใบ MSDS (Material Safety Data Sheet) อยู่จุดหน้างานหรือไม่ ข้อนี้ ISO14001 หรือ EMS ก็เน้นมาก ใน OHSAS18001 ก็เอาด้วย ใช้ทั้งสามมาตรฐานเลยละ!
ตรวจสอบการดูแล (Packaging) สภาพบรรจุภัณฑ์ไม่มีแตก หก รั่วไหล และเสียหายใดๆ
# การรักษา(Preservation)ทั้งในสโตร์ที่เก็บชิ้นงานรับเข้า และในคลังสินค้าที่เก็บผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ไม่ถูกทับหัก ปลวกไม่ขึ้น น้ำจากหลังคาไม่รั่วไหลลงมาทำความเสียหายหรือไม่ อย่างไร
# ตรวจสอบการส่งสินค้า(Delivery) ส่งสินค้าถูกวิธี สินค้าไม่ตกหล่นจากรถโฟคลิฟท์ หรือถูกชนเสียหาย หากระบุใช้ FIFO ก็ส่งตามลำดับหรือไม่ หากเป็น HACCP พวกอาหารก็ต้องควบคุมอุณหภูมิด้วยเพื่อไม่ให้สินค้าเสื่อมสภาพหรือบูดเสีย
# เข้าไปในพื้นที่จดล๊อตสินค้ามาหลายๆล๊อตพร้อมรายละเอียด รวมทั้งวัตถุดิบ ชิ้นงาน แล้วนำข้อมูลมาตรวจสอบได้ทั้งการตรวจรับเข้า(Incoming Inspection)มีหรือไม่ การตรวจขั้นตอนสุดท้าย (Outgoing หรือ Final Inspection) ของสินค้าทำกันหรือไม่ ซื้อวัตถุดิบจาก Approved Supplier List (ASL) หรือ Approved Vendor List (AVL) หรือไม่

Audit ฝ่ายวิศวกรรม เกี่ยวกับการออกแบบ(Design and Development)

# ขอดูคู่มือคุณภาพหรือ QM ว่า Deploy มาให้และเป็นฉบับ Up-Date หรือไม่
# นโยบายที่ระบุในคู่มือคุณภาพหรือ QM ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมนั้นเข้าใจและนำไปปฎิบัติหรือไม่ อย่างไร
# นโยบายที่กำหนดให้ฝ่ายนำไปดำเนินการหรือไม่ อย่างไร
# ผู้จัดการฝ่าย เข้าใจเนื้อหาใจความของนโยบายคุณภาพอย่างไร ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด และการมีส่วนร่วมจะไปตรวจสอบที่พนักงานโดยสุ่มถามหลายๆคนและหลายๆพื้นที่งาน
# ขอดูแผนผังองค์กรฝ่ายวิศวกรรมว่าสอดคล้องกับแผนผังองค์กรรวมของทั้งองค์กรหรือไม่ และ Up-Date หรือไม่
# ตรวจสอบการสื่อสารต่างๆไปยังพนักงานทั่วถึงหรือไม่ พนักงานมีส่วนร่วมในระบบบริหารคุณภาพมากน้อยเพียงใด พนักงานมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด รู้หรือไม่ใครคือลูกค้าฝ่ายตน หรือคนที่รับงานต่อจากกระบวนการของตนคือใคร
# ขอดูประวัติการฝึกอบรมทั้งของผู้จัดการ หัวหน้างานและอาจสุ่มของพนักงานว่าได้รับการอบรมตามแผนและผู้ที่จำเป็นต้องรับการอบรมตาม Training Need ได้รับอบรมไปจริงหรือไม่ อบรมในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ ต้องไม่ล่าช้าหรือค้างนานจนทำความเสียหายในหน้าที่ด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจ
# ขอดูค่า KPI ขอแต่ละฝ่าย สามารถทำได้ตามเป้าหมายหรือไม่ กรณีทำไม่ได้มีแผนปฎิบัติการอย่างไร ไม่ใช่ปล่อยทิ้ง ไม่ได้เป้าหมายก็ไม่ได้ทำอะไร โดยเฉพาะเป้าหมายด้านคุณภาพ มีและเหมาะสมเพียงใด
# การตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายขึ้นมานั้นใช้อะไรเป็นตัวพิจารณา เป็นเป้าหมายรวมทั้งองค์กรหรือแยกเป็นฝ่ายๆ โดยการตั้งเป้าหมายสอดคล้องกับลักษณะงานที่ฝ่ายนั้นรับผิดชอบหรือไม่
# มีการทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ ความถี่ในการทบทวน หรือทำการทบทวนเมื่อไรบ้าง
# อาจสุ่มสอบถามปัญหาหลักที่ถูกตรวจติดตามคุณภาพหลังล่าสุด
# ตรวจสอบว่าการทำงานของฝ่ายวิศวกรรมสอดคล้องกับระเบียบปฎิบัติ(Procedure)หรือไม่
# สอบถามที่มาของข้อมูลนำเข้า(Design Input) ที่จะนำมารวบรวมเพื่อใช้ในการออกแบบมาจากแหล่งใดบ้าง (Design Input Data) เช่น จากผู้บริหารให้ข้อมูลมา หรือจากลูกค้าแนะนำหรือร้องเรียน หรือได้จากการสำรวจตลาด(Market Survey) หรือได้ข้อมูลจากฝ่ายโรงงาน หรือได้จากภาครัฐ หรือจากที่อื่นๆ แล้วนำข้อมูลมาทำการสังเคราะห์อย่างไร
# ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลดิบ(Raw Data) หลังการสังเคราะห์แล้วออกมาเป็นข้อมูลเชิงวิศวกรรม(Engineering Data)ทำอย่างไรต่อไป ใครรับผิดชอบ
# ขอดูแผนงานการออกแบบ ทำตามแผนงานหรือไม่ มีความล่าช้าหรือไม่
# ตรวจสอบการทำต้นแบบ ปฎิบัติตามที่กำหนดหรือไม่
# ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงการออกแบบ (Design Change)ปฎิบัติตามที่กำหนดหรือไม่
# ตรวจสอบมีการออกใบหรือเอกสารการเปลี่ยนแปลงทางวิศวกรรม (Engineering Change)หรือไม่
# แจกจ่ายและนำส่งแบบ(Drawing) ให้กับผู้เกียวข้องหรือไม่ ครบถ้วนหรือไม่ และนำส่งแบบด้วยวิธีการใด
# การเปลี่ยนแปลงการออกแบบเป็น Major Change หรือ Minor Change มีข้อกำหนดอย่างไร
# การเปลี่ยนแปลงทำไปกี่ครั้งและผลลัพท์นั้นใครเป็นผู้ทบทวน (Design Review)
# ตรวจสอบการ Verify ในการออกแบบว่าผลลัพท์เป็นอย่างไร และใครเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
# หากผลการ Verify ไม่ได้ มีแผนการอย่างไร
# ขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติ Design Verify ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ออกแบบหรือลูกค้า หรือฝ่ายขาย มีส่วนร่วมหรือไม่ มีการกำหนดไว้ในระเบียบปฎิบัติตรงกับการทำงานจริงหรือไม่ อย่างไร
# ตรวจสอบการ Validation ในการออกแบบว่าได้จริงหรือไม่ และออกมาเป็น Design Output ตรงตามที่ต้องการหรือไม่ และใครเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
# ให้ดูว่าเป็นการออกแบบ(Design) หรือว่าเป็นการพัฒนา(Development) ทำการออกแบบที่ไหน มีบริษัทแม่ทำให้ หรือลูกค้าออกแบบมาให้ และมีการควบคุมอย่างไร
# ระหว่างการออกแบบมีการประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ผู้รับเหมาหรือซัพพลายเออร์อย่างไร
รวมทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ แม่พิมพ์(ถ้ามี) และการทดลองทำ ทดลองประกอบ(ถ้ามี) และการ
ตรวจสอบกำหนดไว้อย่างไร ทำตามที่ระบุหรือไม่
# ขอดูและตรวจสอบการอนุมัติเอกสาร (Document Authorization and Approval Process)
# ขอดูการทบทวนและการอนุมัติใหม่เกี่ยวกับเอกสารต่างๆ(Review and Re-Approval)
# ให้สุ่มตรวจดูการแก้ไข การเปลี่ยนแปลงเอกสารต่างๆ(Change and Revise)
# ตรวจสอบการชี้บ่ง การจัดเก็บ การดูแลเอกสารในฝ่าย ทั้งการใส่เข้าแฟ้ม การทำดัชนีหรือ List มีหรือไม่
# ตรวจสอบการค้นหาสามารถเข้าถึงได้ในเวลาอันเหมาะสมหรือไม่
# เอกสารมีครบทุกจุดทำงานหรือไม่
# มีการใช้เอกสารจากภายนอกและทำการควบคุมหรือไม่
# จัดการกับเอกสารที่ล้าสมัย(Obsolete) แล้วหรือยัง จัดเก็บออกจากพื้นที่ใช้งานจริงหรือไม่ และปะปนกันหรือไม่
# ดำเนินการกับเอกสารที่ครบอายุการจัดก็บและนำไปทำลายตามวิธีการที่ระบุหรือไม่
# ตรวจสอบการชี้บ่ง(Identification) การจัดเก็บ การดูแลบันทึก(Record)ต่างๆในหน่วยงานวิศวกรรม ทั้งการใส่เข้าแฟ้ม การค้นหาสามารถเข้าถึงได้ในเวลาอันเหมาะสม
# ตรวจสอบว่าบันทึกคุณภาพลงข้อมูลครบถ้วน เขียนอ่านออกหรือไม่
# บันทึกคุณภาพมีการป้องกันความเสียหาย ตรวจดูว่า ไม่ฉีกขาดจนอยู่ในสภาพไม่ดี โดนน้ำจนยุ่ย ถูกปลวกกัดกินหรือไม่
# ตรวจสอบบันทึกคุณภาพว่าครบอายุการจัดเก็บหรือยัง (Retention Period) ให้เก็บออกจากพื้นที่ใช้งานจริง และไม่ปะปนกัน

Audit ฝ่ายขายและฝ่ายการตลาด
# ขอดูคู่มือคุณภาพหรือ QM ว่า Deploy มาให้และเป็นฉบับ Up-Date หรือไม่
# นโยบายที่ระบุในคู่มือคุณภาพหรือ QMผู้จัดการฝ่าย นั้นเข้าใจและนำไปปฎิบัติหรือไม่ อย่างไร
# นโยบายที่กำหนดให้ฝ่ายนำไปดำเนินการหรือไม่ อย่างไร
#ผู้จัดการฝ่าย เข้าใจเนื้อหาใจความของนโยบายคุณภาพอย่างไร ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด และการมีส่วนร่วมจะไปตรวจสอบที่พนักงานโดยสุ่มถามหลายๆคนและหลายๆพื้นที่งาน
# ขอดูแผนผังองค์กรฝ่าย ว่าสอดคล้องกับแผนผังองค์กรรวมของทั้งองค์กรหรือไม่ Up-Date หรือไม่
# ตรวจสอบการสื่อสารต่างๆไปยังพนักงานทั่วถึงหรือไม่ พนักงานมีส่วนร่วมในระบบบริหาร คุณภาพมากน้อยเพียงใด พนักงานมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด รู้หรือไม่นอกจากลูค้าภายนอกแล้ว ใครคือลูกค้าภายในฝ่ายตน หรือคนที่รับงานต่อจากกระบวนการของตนคือใครบ้าง
# ขอดูประวัติการฝึกอบรมทั้งของผู้จัดการ หัวหน้างานและอาจสุ่มของพนักงานว่าได้รับการอบรมตามแผนและผู้ที่จำเป็นต้องรับการอบรมตาม Training Need ได้รับอบรมไปจริงหรือไม่ อบรมในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ ต้องไม่ล่าช้าหรือค้างนานจนทำความเสียหายในหน้าที่ด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจ
# ขอดูค่า KPI ของฝ่าย สามารถทำได้ตามเป้าหมายหรือไม่ กรณีทำไม่ได้มีแผนปฎิบัติการอย่างไร ไม่ใช่ปล่อยทิ้ง ไม่ได้เป้าหมายก็ไม่ได้ทำอะไร โดยเฉพาะเป้าหมายด้านคุณภาพ มีและเหมาะสมเพียงใด
# การตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายขึ้นมานั้นใช้อะไรเป็นตัวพิจารณา เป็นเป้าหมายรวมทั้งองค์กรหรือแยกเป็นฝ่ายๆ โดยการตั้งเป้าหมายสอดคล้องกับลักษณะงานที่ฝ่ายนั้นรับผิดชอบหรือไม่
# มีการทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ ความถี่ในการทบทวน หรือทำการทบทวนเมื่อไรบ้าง
# ตรวจสอบว่าฝ่ายทำงานตามระเบียบปฎิบัติการหรือไม่ จัดทำระเบียบปฎิบัติเรื่องใดบ้าง การทำงานตรงกับที่เขียนหรือกำหนดหรือไม่
# ขอดูและตรวจสอบ Customer List ว่าทำครบถ้วนหรือไม่ รายใหม่ๆได้มีการพิจารณาตามระเบียบปฏิบัติหรือไม่
# ขอดูเกณฑ์การให้สินเชื่อกับลูกค้าทำถูกหลักเกณฑ์หรือไม่ ใครเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ
# ขอดูแผนการสำรวจตลาด(Marketing Survey) ข้อมูลที่ได้ดำเนินการอย่างไรต่อไป
# ขอดูแผนการตลาด(Marketing Plan) มีการวิเคราะห์อะไร อย่างไร
# ขอดูแผนการขาย (Sale Plan) มีการวิเคราะห์อะไร อย่างไร จะทำอย่างไรให้บรรลุตามแผนที่ตั้งไว้
# มีการลดราคา หรือจำหน่ายแบบ Re-Grade และลูกค้ายอมรับหรือไม่
# ขอดูการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า ทำโดยใคร ทำร่วมกับใครบ้าง มีการวิเคราะห์ผลอย่างไร ผลที่ได้ นำไปปฎิบัติหรือออกแผนงานอะไรบ้าง
# การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าด้วยวิธีการใดบ้าง มีการยืนยันคำสั่งซื้อหรือไม่
# กรณีลูกค้าสั่งสินค้าเร่งด่วน ทำอย่างไรและผลการดำเนินการที่ผ่านมา ลูกค้าพอใจ หรือร้องเรียนอะไรบ้าง
# ขอดูการ Complaint และการ Reject ของสินค้า ที่มีปัญหาด้านคุณภาพ รวมทั้งปัญหาอื่นๆ เช่นการขนส่งล่าช้า การขนส่งทำให้สินค้าเสียหาย การส่งของไม่ครบจำนวนและการจัดการแก้ไข อย่างไร
# ขอดู Criteria ของการให้ หรือไม่ให้สินเชื่อกับลูกค้าแต่ละราย มีหรือไม่ และทำอย่างไร
# ตรวจสอบการสื่อสารกับลูกค้า มีวิธีการใด สื่อสารได้ผลดีหรือไม่ การตอบกลับล่าช้าหรือไม่
# การรับคำสั่งซื้อ(Order) พิจารณาจากอะไรบ้าง เช่น จำนวนวันที่ต้องส่งสินค้า จำนวนสินค้า ความสามารถของโรงงานที่จะผลิตและตอบสนอง(Capable Ability)ได้หรือไม่ จำนวนเครื่องจักร สต๊อกวัตถุดิบ รวมทั้งระยะเวลา(Lead Time)ที่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบ อื่นๆ สิ่งเหล่านีให้ตรวจสอบ ไม่ใช่เซลล์รับคำสั่งซื้อมา แต่โรงงานไม่สามารถทำให้ได้
# ตรวจสอบการอนุมัติการขายเป็นไปตามระเบียบหรือไม่
# มีการติดตามงานสั่งขายหรือไม่  แจ้งผู้เกี่ยวข้องหรือไม่ ประสานงานอย่างไร ทั้งลูกค้า ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายวิศวกรรม(หากมีเรื่องการออกแบบด้วย) รวมทั้งการตรวจสอบและจำนวนวันที่ต้องทดสอบ
# กรณีลูกค้าปฎิเสธไม่รับสินค้า ดำเนินการอย่างไร
# ตรวจสอบการขาย ว่าใช้ Price List หรือไม่ และทำตามระเบียบปฎิบัติหรือไม่
# ขอดูผลการตอบกลับจากลูกค้า หลังการดำเนินการแก้ไขสิ่งที่ลูกค้าร้องเรียนมา และการดำเนินการเสร็จสมบูรณ์จริงหรือไม่
# สุ่มตรวจสอบใบหรือบัญชีใบส่งสินค้า(Invoice) ว่าถูกต้อง ทั้งรายละเอียดและสิ่งที่ลูกค้าระบุมา
# กรณีโรงงานผลิตสินค้า หรือให้บริการไม่ได้ตามข้อตกลงกับลูกค้า ดำเนินการอย่างไร ใครเป็นผู้แจ้งลูกค้าทราบ
# ลูกค้ามีการสั่งสินค้าหรือออก Order ล่วงหน้าหรือไม่ ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ใครเป็นผู้ประสานงาน
# การขายสินค้าแบบเข้าประมูล หรือขายให้กับหน่วยงานราชการ มีหรือไม่ ผลลัพท์และอุปสรรคใดบ้าง
# ขอดูสินค้าตัวอย่าง และมีการดูแล ควบคุมอย่างไร
# กรณีสินค้ายังไม่ผ่านขั้นตอนรับรอง มอก. และเป็นมาตรฐานบังคับตามกฎหมาย แต่ลูกค้าต้องการสินค้าแล้ว จะทำอย่างไร (ผู้เขียนตอบให้ว่า ต้องรอใบอนุญาตก่อน มิฉะนั้นเท้าข้างหนึ่งของคุณไปอยู่ที่บางขวาง หรือคลองเปรม หรือถูกส่งไปไกลหน่อยที่ลาดยาว จ.นครสวรรค์แล้ว สมัยที่อยู่โรงงาน ก็มีพีๆจาก สมอ.(ที่ทำงานเก่าของผู้เขียน) มาตรวจสอบ มอก. พบปะกันเสมอ ก็ต้องขอขอบคุณในน้ำใจและความช่วยเหลือมาตลอด ช่วงที่ทำงานอยู่ชลบุรี และระยอง ก็มีเรื่องตลกเกี่ยวกับ มอก. ไว้วันหน้าจะมาเล่าให้ฟัง)
# มี พรบ. เกี่ยวกับความรับผิดชอบในผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายกับลูกค้า ฝ่ายขายมีวิธีการอย่างไรบ้างกับ PL Law (Product Liability)
# ลูกค้ามีข้อตกลงว่าสินค้าต้องไม่มีสารต้องห้ามเกินกว่าปริมาณที่กำหนด มีการออกใบรับรองหรือไม่ และมีการสุ่มตรวจสอบผลลัพท์บ้างหรือไม่ หากสินค้าไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (Non-Conformity) จะดำเนินการอย่างไร
# มีวิธีการเรียกคืนสินค้า(Recall) หรือไม่ อย่างไร
# มีContract Agreement ใดๆ ที่ทำกับบริษัทอื่นหรือไม่ สินค้าผลิตภายในทั้งหมด หรือว่าจ้างภายนอกช่วยผลิต ผลลัพท์เป็นอย่างไร สามารถส่งสินค้าได้ตามที่ต้องการหรือไม่ กรณีไม่ได้ มีแผนปฎิบัติการอย่างไร
# ขอดู แผนการประมาณการสินค้า (Sale Forecast)  พิจารณาจากอะไรบ้าง ผลลัพท์ใกล้เคียงกับจริง(Actual) หรือไม่  หากคลาดเคลื่อนตลอดจะดำเนินการอย่างไร
# การทำข้อตกลงกับลูกค้า มีการทบทวนอย่างไร กรณีลูกค้าเป็นฝ่ายขอแก้ไขสัญหา ทำอย่างไร ใครเป็นผู้อนุมัติ
# ขอดูและตรวจสอบการอนุมัติเอกสาร (Document Authorization and Approval Process)
# ขอดูการทบทวนและการอนุมัติใหม่เกี่ยวกับเอกสารต่างๆ(Review and Re-Approval)
# ขอดูการแก้ไข การเปลี่ยนแปลงเอกสารต่างๆ(Change and Revise)
# ตรวจสอบการชี้บ่ง การจัดเก็บ การดูแลเอกสารในฝ่าย ทั้งการใส่เข้าแฟ้ม การทำดัชนีหรือ List มีหรือไม่
# ตรวจสอบการค้นหาเอกสาร สามารถเข้าถึง(Access)ได้ในเวลาอันเหมาะสมหรือไม่
# เอกสารมีครบทุกจุดทำงานหรือไม่
# มีการใช้เอกสารจากภายนอกและทำการควบคุมหรือไม่
# จัดการกับเอกสารที่ล้าสมัย(Obsolete) แล้วหรือยัง จัดเก็บออกจากพื้นที่ใช้งานจริงหรือไม่ และพบปะปนกันหรือไม่
# ดำเนินการกับเอกสารที่ครบอายุการจัดก็บและนำไปทำลายตามวิธีการที่ระบุหรือไม่ อย่างไร
 # ตรวจสอบการชี้บ่ง(Identification) การจัดเก็บ การดูแลบันทึกต่างๆในหน่วยงาน ทั้งการใส่เข้าแฟ้ม  การค้นหาสามารถเข้าถึงได้ในเวลาอันเหมาะสม
# ตรวจสอบว่าบันทึกคุณภาพลงข้อมูลครบถ้วน เขียนอ่านออกหรือไม่
# บันทึกคุณภาพมีการป้องกันความเสียหาย ตรวจดูว่า ไม่ฉีกขาดจนอยู่ในสภาพไม่ดี โดนน้ำจนยุ่ย ถูกปลวกกัดกินหรือไม่
# ตรวจสอบบันทึกคุณภาพว่าครบอายุการจัดเก็บหรือยัง (Retention Period) ให้เก็บออกจากพื้นที่ใช้งานจริง และไม่ปะปนกัน
# ดำเนินการกับบันทึกที่ครบอายุการจัดก็บและนำไปทำลายตามวิธีการที่ระบุหรือไม่ อย่างไร

เขียนต่อคราวหน้า....................................................

การอบรมภายในตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล 

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง

ที่ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy 

กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com